ISSN: 1906-117X

วารสาร

การศึกษาเปรียบเทียบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในหลักสูตรระดับประถมศึกษา ของประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์

A Comparative Study of Desired Characteristics in Primary Curricula of Thailand and Singapore
ขอบเขต: หลักสูตรการสอน

ภัทรภร พิกุลขวัญ

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ปัฐมาภรณ์ พิมพ์ทอง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงเปรียบเทียบในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ในหลักสูตรระดับประถมศึกษาของประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ภายใต้กรอบการวิเคราะห์ที่ผู้วิจัยสังเคราะห์ขึ้น ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านจุดมุ่งหมายของหลักสูตร ทั้งสองประเทศมีความสอดคล้องกันในการกำหนดทิศทางของหลักสูตรด้านการพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวม โดยที่จุดเด่นของประเทศไทยคือ การคงอัตลักษณ์ของความเป็นไทย และจุดเด่นของประเทศสิงคโปร์คือ ผู้เรียนจะต้องเกิดการเรียนรู้อย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง และเมื่อพิจารณาด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์พบว่า สอดคล้องกับบริบทของทั้งสองประเทศ แต่จุดที่แตกต่างคือ ประเทศสิงคโปร์มีการกำหนดการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมไว้อย่างเป็นรูปธรรม 2) ด้านเนื้อหาวิชา ทั้งสองประเทศมีความสอดคล้องกันในการกำหนดรายวิชาพื้นฐาน และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จุดเด่นของประเทศสิงคโปร์คือ การจัดกลุ่มรายวิชาเป็นการศึกษาแบบฐานกว้าง 3) ด้านโครงสร้างเวลาเรียน ทั้งเวลาเรียนต่อคาบและโครงสร้างเวลาเรียนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของประเทศไทยมีจำนวนชั่วโมงต่อปีมากกว่าประเทศสิงคโปร์ 4) ด้านแนวปฏิบัติและกิจกรรมการพัฒนาผู้เรียน ทั้งสองประเทศมีแนวปฏิบัติที่สอดคล้องกัน มีการบูรณาการคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ อีกทั้งยังมีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา หรือชุมชน จุดเด่นของประเทศสิงคโปร์คือ การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามความสนใจและความถนัดของผู้เรียน และการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง 5) ด้านการวัดและประเมินผลคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ทั้งสองประเทศมีเกณฑ์การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงผ่านกิจกรรม และบริบทของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจน จุดเด่นของประเทศสิงคโปร์คือ มีรูปแบบการประเมินทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ซึ่งเป็นการประเมินแบบองค์รวม และจากการเปรียบเทียบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในหลักสูตรระดับประถมศึกษา ปีที่ 1 – 6 ของประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์ พบว่าหลักสูตรของทั้งสองประเทศได้กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรอย่างชัดเจน มีความสอดคล้องกับบริบทของสังคมในศตวรรษที่ 21 อีกทั้งยังคงอัตลักษณ์ ของประเทศไว้ ด้านเนื้อหาวิชาและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมีความสอดคล้องกับ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร มีลำดับการพัฒนาที่เหมาะสมตามระดับช่วงชั้นและอายุ มีกิจกรรมที่หลากหลาย และสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตประจำวัน นอกจากนี้มีการกำหนดเกณฑ์วัดและประเมินผลไว้อย่างชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน

Abstract

This comparative study research aims to study the comparative desired characteristics in primary curricula between Thailand and Singapore. Data were analyzed using content analysis within the framework synthesized by the researcher. The findings are as follows: 1) Objective of curricula both countries are consistent in determining the direction of the curriculum on the holistic development of learners. The highlight of Thailand is maintaining Thai identity while the strong point of Singapore is Broad-Based Learning. For the desirable characteristics, both countries have desirable characteristics that are consistent with the national context. The difference is that Singapore has a Social and Emotional Learning framework. 2) Content of both countries set basic courses and student development activities but are different in the subject group of Singapore which is in broad-based learning. 3) Learning time structure both the study time per period and the learning time structure related to the development of the desirable characteristics of Thailand have more hours per year than Singapore. 4) Practice guidelines and learner development activities, both countries have the same practices. Desirable characteristics are integrated into the subject matter. There are also learner development activities that are consistent with the context of the school or community. The learner development activities are distinct points in which Singapore organizes activities based on interests and the aptitude of the student and participation of parents. 5) Measurement and evaluation of desirable characteristics, both countries have an authentic assessment and evaluation criteria through activities. The difference is that Singapore has an assessment model both qualitative and quantitative which is a holistic assessment. This study was found that the curricula of both countries clearly the objective that consistent with the context of the 21st century and the national identity. The content and activities for learner development were in accordance with the objectives of the curriculum. There is a sequence of development suitable for each level and age. There are many activities and in line with daily life. In addition, there are clear criteria for evaluation and evaluation. In order to be a practice in the same direction.

คำสำคัญ

การศึกษาเปรียบเทียบ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หลักสูตรระดับประถมศึกษา

Keywords

Comparative Study, Desired Characteristics, Primary Curricula

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แนวทางการพัฒนาการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช2551กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). อาเซียน ๒๐๒๕: มุ่งหน้าไปด้วยกัน – ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน “มิติการศึกษา”.
ประกฤติยา ทักษิโณ และคณะ. (2559). โมเดลการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
รอบด้านตาม มาตรฐานการศึกษาแหง่ชาติและการพัฒนาชดุเครื่องมือวัดโครงสร้างด้านเจตคติ ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).
พิชัย แก้วบุตร. (2563). ความสนใจของนักศึกษาต่อกิจกรรมเสริมนอกชั้นเรียนวิชาภาษาจีน:กรณีศึกษานักศึกษาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 12(3): 36-38.
พงศธร มหาวิจิตร. (2560). นวัตกรรมการเรียนรู้จากฟินแลนด์. นิตยาสาร สสวท. 46(209): 40-41.
ภัทราวดี ยวนชื่น. (2556). การเปรียบเทียบความสามารถด้านการฟัง การพูดภาษาอังกฤษ
และความสนใจในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ที่ได้รับการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนตามแนวทฤษฎีธรรมชาติกับแนวการสอนแบบเดิม. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 7(2): 191.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). Broad - based Learning: การเรียนรู้อย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง. ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้ กรุงเทพมหานคร. 1-2.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน). (2559). เปิดโมเดล 4 ประเทศยกระดับการประเมินการศึกษาไทยสู่สากล. จุลสาร สมศ. 17(1): 1-8.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). รายงานการศึกษาไทย พ.ศ. 2561 (Education in Thailand 2018). กรุงเทพ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). ข้อค้นพบจาก PISA เกี่ยวกับกรอบความคิดแบบเติบโต (Growth Mindset). Focus ประเด็นจาก PISA. 49: 1-4.
Gutman, L. M., & Schoon, I. (2013). The impact of non-cognitive skills on outcomes for young people. Institute of Education University of London.
INCA. (2011). Singapore Country Report.
http://webarchive.nationalarchives.gov.uk/20581201141524/inca.org.uk/.
International Institute for Management Development. (2019). IMD World Competitiveness Yearbook 2019. Switzerland.
Kirchgasler, C. (2018). True Grit? Making a Scientific Object and Pedagogical Tool. American Educational Research Journal. 55 (4): 1-28.
Liem, G. A. D., Chua, B. L., Seng, Y. B. S., Kamarolzaman, K., & Cai, E. Y. L. (2017). Social emotional learning in Singapore schools: Framework, practice, research, and future directions. Social and emotional learning in Australia and the Asia Pacific. 187-203.
MOE. (2009). Report of the Primary Education Review and Implementation Committee. Ministry of Education Singapore.
MOE. (2015). Bringing Out the Best in Every Child. Ministry of Education Singapore.
Ministry of Education, Singapore. (2018). Our Home, Our Say: National Education Review 2016-2017. Ministry of Education Singapore.
MOE. (2020). Primary School Education: Preparing Your Child for Tomorrow. Ministry of Education Singapore.
Ng, P., T., (2008). Educational reform in Singapore: from quantity to quality. Educ Res Policy Prac. 7: 5-15.
OECD. (2014). Fostering And Measuring Skills: Improving Cognitive And Non-Cognitive Skills To Promote Lifetime Success. OECD Education Working Paper no. 110. France.
Tan, C., Koh, K. & Choy, W. (2016). The education system in Singapore. Asian Education Systems. 129-148.
Tan, J, Pei-Ling., et al. (2017). Advancing 21st Century Competencies in Singapore. Singapore.
United Nations Development Programme. (2019). Human Development Report 2019 Beyond income, beyond averages, beyond today: Inequalities in human development in the 21st century. USA: RR Donnelley Company.
World Economic Forum. (2017). Insight Report the Global Competitiveness Report 2017–2018. Geneva.
Zhou, K. (2017). Non-cognitive skills: Potential candidates for global measurement. European Journal Education 52: 487-497.