ISSN: 1906-117X

วารสาร

เปรียบเทียบผลการใช้รูปแบบกิจกรรมเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ ของเด็กปฐมวัยโดยใช้ผู้ปกครองต้นแบบเป็นฐานในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Comparison of results using Early Childhood Activities to Enhance their Analytical Thinking Using their Guardian Role-Model as the Foundation, in the Province Suratthani
ขอบเขต: สังคมศาสตร์เพื่อการศึกษา

ชิตาพร เอี่ยมสะอาด

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลรูปแบบกิจกรรมเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้ผู้ปกครองต้นแบบเป็นฐานในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดย 1) เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ผู้ปกครองใช้รูปแบบกิจกรรมก่อนการทดลองและหลังการทดลอง 2) เปรียบเทียบความรู้ความสามารถของผู้ปกครองเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนการทดลองและหลังการทดลอง และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการใช้รูปแบบกิจกรรมเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย ผลการวิจัยพบว่า 1. เด็กปฐมวัยมีคะแนนการคิดวิเคราะห์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยด้านการวิเคราะห์องค์ประกอบย่อยมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาด้านการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ และด้านการวิเคราะห์เชิงหลักการมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 2. ผู้ปกครองมีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีคะแนนความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบกิจกรรมเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยหลังการทดลองอยู่ในระดับมาก

Abstract

The purposes of this research were: to evaluate the early childhood activities form to enhance analytical thinking using guardian role-model as the foundation in the Province Suratthani as follows : 1) to compare the post-test scores of the early childhood students after receiving the treatment and pre-test scores before receiving the treatment. 2) to compare the knowledge and abilities in arranging early childhood activities to enhance analytical thinking of the guardians after receiving the treatment before receiving the treatment; and 3) the satisfaction towards the use of the early childhood activities form to enhance analytical thinking using guardian role-model as the foundation in the Province Suratthani. The research findings were showed as follows. 1. The post-test scores of the early childhood students after receiving the treatment were significantly higher than the pre-test scores before receiving the treatment at a significance level of 0.05. The analysis of sub-components had the highest average score preceded by the analysis of relationship and the principal analysis had the lowest average score. 2. The knowledge and abilities in arranging early childhood activities to enhance analytical thinking of the guardians after receiving the treatment was higher than before receiving the treatment a significance level of 0.05. 3. The satisfaction towards the use of the early childhood activities form to enhance analytical thinking using guardian role-model as the foundation in the Province Suratthani after receiving the treatment was at a high level.

คำสำคัญ

รูปแบบกิจกรรม, การคิดวิเคราะห์, เด็กปฐมวัย, ผู้ปกครองต้นแบบ

Keywords

Activities Form, Analytical Thinking, Early Childhood, Guardian Role-Model

เอกสารอ้างอิง

ชูศรี วงศ์รัตนะ และองอาจ นัยพัฒน์. (2551). แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองและสถิติวิเคราะห์: แนวคิดพื้นฐานและวิธีการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ.(2556). การพัฒนาการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิค พริ้นติ้ง.
ทิศนา แขมมณี.(2554). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิสณุ ฟองศรี.(2557). การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ด่านสุธาการพิมพ์.
ภรณี ภูรีสิทธิ์.(2559). ฝึกวินัยและวิธีคิดให้เด็กเล็กตั้งแต่แรกเกิด-6 ขวบ. นนทบุรี : บี มีเดีย กรุ๊ป.
วรนุช ศรเพชร,ญาณภัทร สีหะมงคล และเทิดศักดิ์ สะพันดี. (2560). การสังเคราะห์งานวิจัยด้านการจัดการ เรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิดระดับปฐมวัย. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัย มหาสารคาม., 23(1),172-180.
สิทธิพล อาจอินทร์.(2554). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุภาวดี หาญเมธี.(2557). Brain Guide ปลุกพลังสมอง(วัย 1-3 ปี). กรุงเทพฯ: รักลูกบุ๊กส์.
.(2561). รู้จักทักษะสมอง Excutive Functions Skills. ใน คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Excutive Functions สำหรับครูปฐมวัย. กรุงเทพฯ: มติชน จำกัด (มหาชน).
สุมาลี หมวดไธสง.(2554). ความสามารถในการวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม กระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
Stryker,S. and Serpe,R.T.(1994).Identity Salience and Psychological Centrality:Equivalent,
Overlapping,or Complementary Concepts? Social Psychology Qarterly. 57(1): 16-35.