ISSN: 1906-117X

วารสาร

การพัฒนาโปรแกรมพลศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามมาตรฐานการเรียนรู้พลศึกษาของ SHAPE America

The Development of Physical Education Program to SHAPE America’s Learning Physical Education Standards for Grade 9 Students
ขอบเขต: สังคมศาสตร์เพื่อการศึกษา

อรพิมล กิตติธีรโสภณ

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

สุวิมล ตั้งสัจจะพจน์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สมบัติ อ่อนศิริ

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

บทคัดย่อ

การพัฒนาโปรแกรมพลศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามมาตรฐาน การเรียนรู้พลศึกษาของ SHAPE America มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมพลศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามมาตรฐานการเรียนรู้พลศึกษาของ SHAPE America และประเมินผลการใช้โปรแกรมพลศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามมาตรฐาน การเรียนรู้พลศึกษาของ SHAPE America กลุ่มตัวอย่างในขั้นทดลองโปรแกรมพลศึกษา ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) จากโรงเรียนทั้งหมด 67 โรงเรียน (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จังหวัดกรุงเทพมหานคร) โดยทำ การเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ได้โรงเรียนสุวรรณพลับพลาพิทยาคม และทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีจับฉลาก ได้ 2 ห้องเรียน จำนวน 60 คน แล้วตอบแบบประเมินมาตรฐานการเรียนรู้พลศึกษาของ SHAPE America จากนั้นนำค่าที่ได้ของแต่ละคนมาเรียงคะแนนจากสูงสุดไปถึงต่ำสุด กำหนดให้นักเรียนที่มีคะแนนมากกว่าค่าเฉลี่ย จำนวน 30 คน และน้อยกว่าค่าเฉลี่ย จำนวน 30 คน มาสุ่มแบบจับคู่ (Match-paired Sampling) ออกเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน โดยมีระยะเวลาใน การเข้าร่วมโปรแกรมพลศึกษา 16 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แบบประเมินมาตรฐานการเรียนรู้พลศึกษาของ SHAPE America และ 2) โปรแกรมพลศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามมาตรฐานการเรียนรู้พลศึกษาของ SHAPE America ผลการวิจัยพบว่า ผลการใช้โปรแกรมพลศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามมาตรฐานการเรียนรู้พลศึกษาของ SHAPE America ของกลุ่มทดลองก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม 16 สัปดาห์ มีผลแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 และหลังการเข้าร่วมโปรแกรมพลศึกษา ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01

Abstract

The development of physical education program to SHAPE America’s learning physical education standards for grade 9 students purpose was to develop physical education program to SHAPE America’s learning physical education standards for grade 9 students, and evaluate effects of use program to SHAPE America’s learning physical education standards for grade 9 students. The samples in the experiment of the physical education program acquired by Multistage Random Sampling from 67 schools (Secondary Educational Service Area Office 1, Bangkok) by purposive sampling, Suwanplubplapittayakom School And simple random sampling by using the method of drawing 2 classrooms of 60 students and answering the SHAPE America’s learning physical education standards evaluation form, then each person's values are ranked from highest to lowest Assign 30 students with a score greater than the average and less than the average of 30 students to randomly match. (Match-paired Sampling) into 30 experimental groups and 30 control groups, with 16 weeks. Research instruments were: 1) SHAPE America’s learning physical education standards evaluation form and 2) physical education program to SHAPE America’s learning physical education standards for grade 9 students Findings were founded that: after attending 16 weeks program, there were significant differences in physical education program to SHAPE America’s learning physical education standards between before and after of experimental group at .01 level, as well as significant differences in physical education program to SHAPE America’s learning physical education standards after between of experimental group and control group at .01 level.

คำสำคัญ

โปรแกรมพลศึกษา, มาตรฐานการเรียนรู้พลศึกษาของ SHAPE America, นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3

Keywords

Physical Education Program, SHAPE America’s learning physical education standards, Grade 9 students

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมาตรฐานสากล World Class Standard School Instruction Guidelines. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย.
วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2548). รวมบทความเกี่ยวกับปรัชญา หลักการวิธีสอนและการวัดเพื่อ ประเมินผลทาง พลศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ตั้งสัจจะพจน์. (2540). “หลักสูตรพลศึกษาที่มีความเป็นสากล”. วารสารศึกษาศาสตร์ ปริทัศน์. 12(1): 41-47.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. (2561). ข้อมูลสารสนเทศ ปีการศึกษา 2561 [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2561 จาก http://plan.sesao1.go.th /school _size.php,.
Lund, J.L. and D. Tannehill. (2015). Standards – Based Physical Education Curriculum Development. MA: Jones and Bartlett.
Mitchell, S.A. and J.L. Walton-Fisette. (2016). The essentials of teaching physical education: curriculum, instruction, and assessment. IL: Human Kinetics.