ISSN: 1906-117X

วารสาร

การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะตามแนวคิดมอนเตสซอรี่เพื่อพัฒนาการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัยที่มีความบกพร่องทางการเห็น

The Development of Art Activities Packages Based on Montessori to Develop Executive Function of Young Children with Visual Impairment
ขอบเขต: สังคมศาสตร์เพื่อการศึกษา

จิราพร พนมสวย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สริตา เจือศรีกุล

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมศิลปะตามแนวคิดมอนเตสซอรี่เพื่อพัฒนาการคิดเชิงบริหารสําหรับ เด็กปฐมวัยที่มีความบกพร่องทางการเห็น และ 2) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมศิลปะตามแนวคิดมอนเตสซอรี่เพื่อพัฒนาการ คิดเชิงบริหารสําหรับเด็กปฐมวัยที่มีความบกพร่องทางการเห็น การดําเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ 1) ระยะพัฒนาชุดกิจกรรม โดยการศึกษาข้อมูลเอกสารและงานวิจัยที่ เกี่ยวข้อง การสังเกตการเรียนการสอน และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนําข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาชุดกิจกรรม 2) ระยะ ทดลองใช้ชุดกิจกรรม โดยใช้การวิจัยเชิงทดลองแบบ 2 กลุ่ม วัดสองครั้ง (Two Group Pretest-Posttest Design) กลุ่ม ตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3 ที่บกพร่องทางการเห็นจํานวน 12 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 6 คน และกลุ่ม ควบคุม 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กก่อนวัยเรียน (MU.EF-101), แบบบันทึกความถี่ของการทํากิจกรรมนอกเวลาเรียน, แบบบันทึกหลังการสอน, และแบบบันทึกความถี่ ของพฤติกรรมขณะเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ เนื้อหา (Content Analysis) ผลการพัฒนาชุดกิจกรรมสรุปได้ว่า หลักการของชุดกิจกรรมคือ 1) เป็นกิจกรรมที่เน้นการปั้นและการสัมผัสพื้น ผิว 2) มีอุปกรณ์เพียงอย่างละ 1 ชุด เพื่อสอนให้เด็กรู้จักการรอคอยและแบ่งปัน 3) กิจกรรมมีความยืดหยุ่น เปิดโอกาสให้ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการต่อเติมผลงาน 4) มีกระบวนการทํางานเป็นขั้นตอนชัดเจน เด็กทําซ้ําได้เองภายหลัง อุปกรณ์ เป็นชุดต้องเก็บเข้าที่เมื่อใช้เสร็จ 5) ทําส่วนสําคัญของงานก่อนจึงเพิ่มเติมรายละเอียด ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมสรุปได้ว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี นัยยะสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The purposes of this research were 1) developing of art activities packages based on Montessori concept to develop executive function of young children with visual impairment and 2) studying the results of using art activities packages based on Montessori concept to develop executive function of young children with visual impairment. The research was decided into two phases 1) developing the activities packages by reviewing literature, observing classrooms and interviewing experts 2) studying the effects of the activities packages. The trial used the two group pretest-posttest design. The sample consisted of 12 kindergarten 3 students with visual impairment, six students in experimental group and six students in control group. Data collection consisted of the score from executive function behavioral checklist (MU.EF-101), frequency of after-class activities, post- teaching notes, and frequency of behavior record while teaching. The data were analyzed by using mean, S.D., t-test and content analysis. As a result, the principle of the activities consisted of 1) the art activities should focus on sculpting and exploring texture. 2) There should be just one set of tools and material to encouraging the skills of waiting and sharing. 3) the activities should be flexible to foster creativity. 4) the activity steps should be clear so that the children could repeat and the activity set must be put back in its place by themselves, 5) encouraging children to focus on the big part before smaller details. After implementing experiment, the posttest mean score of the experimental group was higher than the pretest mean score at a significant difference of .05.

คำสำคัญ

ชุดกิจกรรมศิลปะ, มอนเตสซอรี่, การคิดเชิงบริหาร, เด็กที่บกพร่องทางการเห็น

Keywords

ART ACTIVITY PACKAGE, MONTESSORI, EXECUTIVE FUNCTION, YOUNG CHILDREN WITH VISUAL IMPAIRMENT

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2561). รายงานข้อมูล สถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://nadt.or.th/pages/stat61.html
คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ฉบับที่ 5 พ.ศ.2560-2564. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.saraburi.m-society.go.th/?wpfb_dl=178
จีระพันธุ์ พูลพัฒน์. (2540). การสอนแบบมอนเตสซอรี่จากทฤษฎีสู่แนวทางไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ:
พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.).
เจิดศิลป์ สุขุมินท, ครูโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ (4 ธันวาคม 2561). สัมภาษณ์
ชรินรัตน์ พ่วงรำดวน, รองผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลกรแก้ว. (27 ธันวาคม 2561). สัมภาษณ์
ดุษฎี อุปการ และ อรปรียา ญาณะชัย. (2561). การเสริมสร้างพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยควรเลือกใช้หลัก การใด: “การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน” หรือ “การคิดเชิงบริหาร”. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากรฉบับ
ภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศึกษา และศิลปะ, 11(1), หน้า 1635-1651.
นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2560). การประเมินพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหาร (EF) ในเด็กปฐมวัย. [ออนไลน์].
แหล่งที่มา: http://www.thaichildhealth.com/wp-content/uploads/2017/08/การประเมิน
นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2558). Executive Functions กับความพร้อมทางการเรียนในเด็กปฐมวัย. [ออนไลน์]. จาก http://www.escd.or.th/data/2016/ef.pdf
บุบผา เรืองรอง. (2555). กิจกรรมสร้างสรรค์ (Creative Activities). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2560. จาก http://taamkru.com/th/กิจกรรมสร้างสรรค์/
พรรณวิภา บรรณเกียรติ. (2557). คู่มือการให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: วนิดาการพิมพ์.
พรทิพย์ รักคำมี และคณะ. [ม.ป.ป.]. ผลการใช้รูปแบบกระบวนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ของผู้ปกครองเด็ก ปฐมวัยในช่วงวัยที่ต่างกันที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัย ที่ 8. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2560. แหล่งที่มา: http:// km.hpc3.org/?wpfb_dl=47
สุพิชฌาย์ ประพฤติกิจ, ครูโรงเรียนอุบาล 3 ภาษา บ้านต้นไม้. (7 ธันวาคม 2561). สัมภาษณ์
ศรียา นิยมธรรม. (2550). ทัศนศิลป์เพื่อการศึกษาพิเศษ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: แว่นแก้ว.
Diamond A. . (2013). Executive Functions. [Online]. Retrieved December 15, 2017.
From : https:// www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4084861/pdf/nihms-602706.pdf
Harvard University. (2011). Building the Brain’s “Air Traffic Control” System: How Early Experienced
Shape the Development of Executive Function. [Online]. From : http:// www.developingchild.harvard.eduWorking
Heyl V.and Manfred H. . (2015). Executive Function and Behavioral Problems in Students with Visual Impairments at Mainstream and Special Schools. Journal of Visual Impairment & Blindness 2015 : 251-263.
Macular Society. (n.d.). Tips for teaching Art to visually impaired students. [Online]. Retrieved December 15, 2017. From https://www.macularsociety.org/sites/default/files/resource/Macular%20Society%20tips%
20for%20teaching%20Art%20to%20visually%20impaired%20students.pdf
NAMC Montessori Teacher Training. (2012). What is Mindfulness? Montessori Perspectives. [Online].
Retrieved July 12, 2017 From : http://montessoritraining.blogspot.com/2012/05/what-is- normalization- montessori.html