ISSN: 1906-117X

วารสาร

รูปแบบการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ออนไลน์ด้วยกระบวนการจัดการความรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

The Development Model of Online Learning Resources to Encourage Knowledge Management of Student in Education Faculty at Suan Sunandha Rajabhat University.
ขอบเขต: สังคมศาสตร์เพื่อการศึกษา

ทับทิมทอง กอบัวแก้ว

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ออนไลน์ด้วยกระบวนการจัดการความรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ออนไลน์ด้วยกระบวนการจัดการความรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กลุ่มประชากรที่ใช้ศึกษาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ประสบการณ์ด้านการจัดการความรู้ ด้านเทคโนโลยีการศึกษา ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและมีผลงานทางวิชาการที่เป็นที่ยอมรับ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 15 คน ทำการประเมินรูปแบบฯ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย กลุ่มที่สองคือ ประชากร คือ นักศึกษาวิชาชีพครู ชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน 6 สาขาวิชา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling ) โดยใช้กลุ่มสาขาวิชาเป็นหน่วยสุ่ม จำนวน 30 คน ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ออนไลน์ด้วยกระบวนการจัดการความรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (KM-LOR model) มีองค์ประกอบทั้งหมด 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) 2) ระบบการจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ (Content Management System: CMS) 3) ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 4) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology) 5) แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ (Learning Online Resources) และมีผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบฯ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅ = 4.75) ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ออนไลน์ด้วยกระบวนการจัดการความรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา พบว่า มีประสิทธิภาพอยู่ที่ระดับ 87.75/86.67 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบฯ ที่สร้างขึ้น สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The objectives of this research were 1) to create the online learning resources development model using the knowledge management process of teacher professional students of Suan Sunandha Rajabhat University 2) to study the results of the experiment using the online learning resource development model by the knowledge management process of the teacher professional students of Suan Sunandha Rajabhat University The study population was divided into 2 groups. The first group is experts with knowledge and experience in knowledge management, education technology, information and communication technology and has a recognized academic work. The sample group used to select purposive Sampling were 15 experts to evaluate the model by using Delphi technique. The second population group was the second year professional teacher students, Faculty of Education, Suan Sunandha Rajabhat University. There are 6 subjects. The sample group was the teacher professional students that Year 2 Science Program, Cluster Random sampling by using the subject as random units and choosing 1 group of 30 people The study indicated that: The development of online learning resources by knowledge management process of teacher professional students Suan Sunandha Rajabhat University (KM-LOR model) has all 5 elements: 1) Knowledge Management: KM 2) Content Management System: CMS 3) Learning skills in the 21st century 21 4) Information and Communication Technology: ICT 5) Learning Online Resources: LOR. It have results in evaluating the suitability of the model in the overall was at the highest level ( x ̅ = 4.75). The results of the experiment using online learning resource development model by the knowledge management process of the teacher professional students Suan Sunandha Rajabhat University found that the efficiency was at the level of 87.75 / 86.67 and the learning achievement after learning with the model that was created was higher than before learning with statistical significance at the level of .05.

คำสำคัญ

รูปแบบการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ออนไลน์ กระบวนการจัดการความรู้

Keywords

Model of Online Learning Resources, Knowledge Management

เอกสารอ้างอิง

กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2557). การจัดการความรู้...ปัจจัยสู่ความสำเร็จ. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 5(พิเศษ), 134-144.
ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์. (2552). แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต. สืบค้นเมื่อ มกราคม 1, 2561, จาก https:// www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=7744&Key=news_research.
ณัฐพล รำไพ. (2554). รูปแบบการจัดการความรู้ผ่านเว็บที่เสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาครู. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2558). การจัดการห้องเรียนและแหล่งเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 4) กรุงเทพฯ: มีนเซอร์วิส ซัพพลาย.
ปรีชา อุยตระกูลและคณะ. (2551). รายงานการวิจัย เรื่อง การปฏิรูปการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยกระบวนการจัดการความรู้. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2557). รายงานการวิจัย เรื่อง แนวทางการพัฒนาอีเลิร์นนิงสำหรับสถาบันการศึกษาในประเทศไทย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ราตรี วิศิษฎ์สุรวงศ์. (2554). สร้างงาน E-Learning ด้วย CourseLab. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
วรากร หงษ์โต. (2553). การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์โดยใช้กระบวนการสร้างความรู้เพื่อการสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนของครูผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 4(1) ,90-101.
สมจิตร์ สุวรักษ์. (2554). การจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Jenny S. (2016). What are the 21st-century skills every student needs?. Retrieved January 1, 2019, from https://www.weforum.org/agenda/2016/03/21st-century-skills-future-jobs-students/.
Nonaka, I., and Takeuchi, H. (1995). The Knowledge-Creating Company: How Japanese Companies create the dynamics innovation. New York: Oxford University Press.