ISSN: 1906-117X

วารสาร

ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยนครพนม

Organizational Commitment of Personnel In Faculty of Industrial Technology, Nakhon Phanom University
ขอบเขต: การบริหารการศึกษา

นาวี อุดร

มหาวิทยาลัยนครพนม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยนครพนม 2) เปรียบเทียบระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยนครพนม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และรายได้ต่อเดือน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นบุคลากรคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยนครพนม ประกอบด้วยข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ และพนักงานตามสัญญา จำนวน 103 คน จากวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็น (Opinionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t–test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One–way ANOVA) และเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Method) ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยนครพนม โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) เมื่อเปรียบเทียบระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร พบว่า บุคลากรที่มีเพศ อายุ สถานภาพสมรส และระดับการศึกษาต่างกันมีความผูกพันต่อองค์การไม่แตกต่างกัน ส่วนบุคลากรที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และมีรายได้ต่อเดือนต่างกันมีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The purposes of this research were 1) to examine the level of organizational commitment of personnel in Faculty of Industrial Technology, Nakhon Phanom University 2) to compare the results examine the level of organizational commitment of personnel as classified according personal factors including gender, age, marital status, educational level, working period and salary income. The samples group for this research consisted of 103 personnel in Faculty of Industrial Technology, Nakhon Phanom University, determined by stratified sampling. The research instrument was an opinionnaire. The data were analyzed to figure out frequency, percentage, mean, standard deviation, and The data were analyzed to figure out frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way ANOVA transformation, and Scheffe’s Method for paired comparisons of difference. The results revealed that 1) The level of organizational commitment of personnel in Faculty of Industrial Technology, Nakhon Phanom University was high level in the overall. 2) Comparing the level of organizational commitment for personnel, was found that the level of organizational commitment level of the personnel who were different in term gender, age, marital status and educational were not different, while the personnel were different in terms of working period and salary income were different at the statistical level of .05

คำสำคัญ

ความผูกพันต่อองค์การ, บุคลากร, มหาวิทยาลัยนครพนม

Keywords

Organizational Commitment, Personnel, Nakhon Phanom University

เอกสารอ้างอิง

กรวรรณ ขจีจิต. (2560). ความผูกพันของเจ้าหน้าที่ประจำตามสัญญาที่มีต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม). สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/
จิราภร จันทภาโส. (2558). ความผูกพันธ์ต่อองค์การของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่). สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/
ฉัตรชัย มีพฤกษ์ (2559) ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้บรรยากาศองค์การกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต). สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ณัฐพันธ์ มีมุข. (2560). อิทธิพลขององค์กรแห่งความสุขที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยรามคำแหง. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง). สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/
ปารณีย์ ทองยอดเกรื่อง. (2559). ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์). สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/
เพ็ญนภา วงศ์นิติกร. (2558). ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยสวนดุสิต. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร). สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/
ภูรุจ จันทร์สว่าง. (2560). การบริหารจัดการที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันองค์กรตามความคิดเห็นของพนักงานมหาวิทยาลัย ในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา). สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/
มณีรัตน์ ศรีคุ้ย. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรกับประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต). สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/
รชต มาเจริญ. (2557). ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์). สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/
วิลาวรรณ รพีพิศาล. (2550). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วิจิตรหัตถกร.
สุพาภรณ์ รัตนะราช. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานกับความผูกพันองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุน ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลส่วนกลาง. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ). สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/
อำนวยพร บำรุงบุญ. (2559). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม). สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/
Mowday, R.T., Porter, L.W. & Steers, R.M. (1982). Employee-Organization Linkages: The Psychology of Commitment, Absenteeism and Turnover. New York: Academic Press.