ISSN: 1906-117X

วารสาร

การวิจัยและพัฒนารูปแบบนวัตกรรมที่สร้างสรรค์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาวิชาชีพของครูในภูมิภาคตะวันตก

Research and Development of Creative Learning Innovation Model for Teachers’ Professional Development in the Western Region
ขอบเขต: หลักสูตรการสอน

อรพิณ ศิริสัมพันธ์

มหาวิทยาลัยศิลปากร

ภัทรพล มหาขันธ์

มหาวิทยาลัยศิลปากร

กนกพร ฉันทนารุ่งภักดิ์

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

นภาเดช บุญเชิดชู

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานการพัฒนารูปแบบนวัตกรรมที่สร้างสรรค์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพของครูในภูมิภาคตะวันตก 2) พัฒนารูปแบบนวัตกรรมที่สร้างสรรค์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพของครูในภูมิภาคตะวันตก 3) ทดลองใช้รูปแบบนวัตกรรมที่สร้างสรรค์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาวิชาชีพของครูในภูมิภาคตะวันตก และ 4) ประเมินรูปแบบนวัตกรรมที่สร้างสรรค์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาวิชาชีพของครูในภูมิภาคตะวันตก การวิจัยนี้ประยุกต์แบบแผนของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การวิจัยและพัฒนาและการวิจัยแบบผสมผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้รูปแบบ คือ โรงเรียนที่ได้รับคัดเลือกเป็นต้นแบบ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล 1 วัดนางวัง (สหราษฎร์อุทิศ) อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และโรงเรียนมัธยมฐานบินกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานการพัฒนารูปแบบนวัตกรรมที่สร้างสรรค์การเรียนรู้ เกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี หลักการมาใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participation Theory) แนวจิตตปัญญาศึกษา และการใช้โรงเรียนเป็นฐาน 2. ผลการพัฒนารูปแบบนวัตกรรมที่สร้างสรรค์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาวิชาชีพของครูในภูมิภาคตะวันตก คือ รูปแบบนวัตกรรมที่สร้างสรรค์การเรียนรู้ ที่มีชื่อเรียกว่า PD3CE Model ซึ่งมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 รับรู้ (Perceive) ขั้นที่ 2 พัฒนา (Develop) ขั้นที่ 3 ออกแบบ (Design) ขั้นที่ 4 จัดกิจกรรม (Do) ขั้นที่ 5 วิพากษ์วิจารณ์สะท้อนคิด (Criticize) และขั้นที่ 6 ประเมินผล (Evaluate) 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบนวัตกรรมที่สร้างสรรค์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาวิชาชีพของครูในภูมิภาคตะวันตก 3.1 โรงเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา คือ โรงเรียนเทศบาล 1 วัดนางวัง (สหราษฎร์อุทิศ) อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม ผู้บริหารและครูได้ร่วมมือกันออกแบบนวัตกรรมที่สร้างสรรค์การเรียนรู้ เรียกว่า 2R3C และพบว่า คะแนนผลการเรียนรู้ เรื่อง My House กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.2 โรงเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษา คือ โรงเรียนมัธยมฐานบินกำแพงแสน อ.กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ครูได้ร่วมมือกันออกแบบนวัตกรรมที่สร้างสรรค์การเรียนรู้ เรียกว่า PAR2C และพบว่า คะแนนผลการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการพัฒนารูปแบบนวัตกรรมที่สร้างสรรค์การเรียนรู้โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก และผลจากการถอดบทเรียนพบว่า นวัตกรรมการเรียนรู้ของสถาบันการศึกษาแต่ละแห่งจะมีรูปแบบที่แตกต่างกัน

Abstract

The purposes of this research were to 1) study vital information about innovation in creative learning in order to develop professions for teachers who work in the west of Thailand ; 2) create a model of the innovation for the teacher professional development; 3) investigate an efficiency of the model; and 4) to evaluate the model. This study, obtained from a participatory action research, research and development and mixed method. The sample consisted of 2 role-model schools : Tessabarn 1 Wat Nang Wang School (Saharat U-Thit) Ampawa district, Samutsongkram province and Matthayomthanbinkampangsean School, Kampangsean district, Nakhon Pathom province. The data was analyzed by mean, standard deviation, t-test and content analysis. The results were shown as follows: 1) According to studying the fundamental information, trends and theories used for developing the model were Behaviorism, Participation theory, and Contemplative education as well as School-based learning. 2) The created model named “PD3CE Model” contained basic concept, principles, strategies, context and input, procedure and implementation; furthermore, there were 6 stages: Perceive, Develop, Design, Do, Criticize and Evaluate 3) After the model was utilized, it showed as these followings: 3.1 In the case of the primary school or Tessabarn 1 Wat Nang Wang School (Saharat U-Thit), exclusives and teachers cooperated to design the innovation in creative learning named “2R3C”. After using this innovation with “My House” lesson, the fifth grade students’ proficiency was higher significantly at the level of 0.05. 3.2 In terms of the secondary school or Matthayomthanbinkampangsean School, just teachers generated the innovation. It was called “PAR2C”. After using it with “Interesting Economics” lesson, the seventh grade students’ proficiency was higher significantly at the level of 0.05. 4) Teachers’ satisfaction on using the model for professional development was rated at the high level; when the researchers carried on lesson learned visualizing, it revealed that the innovation of each school was various.

คำสำคัญ

นวัตกรรม/สร้างสรรค์การเรียนรู้ /พัฒนาวิชาชีพ/ครู

Keywords

Innovation/ Creative Learning / Professional Development /Teacher

เอกสารอ้างอิง

ภาษาไทย
กนกภรณ์ ชูเชิด และสกรรจ์ พรหมศิริ. (2548). การถอดบทเรียน วิธีวิทยาเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้สำหรับนักปฏิบัติภาคประชาสังคม. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพและสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.
กฤษณ์ อุทัยรัตน์. (2552).นวัตกรรม การบริหารทรัพยากรมนุษย์, ( ออนไลน์),เข้าถึงได้จาก http: //www.jobroads.net
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กีรติวิทย์ สุวรรณธรรมา. (2552). รายงานวิจัยการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ ในการจัดการเรียนการสอนจิตสาธารณะของครูประถมศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. ขอนแก่น: [ม.ป.พ.]. (เอกสารอัดสาเนา).
กลุ่มข้อมูลและสารสนเทศ. (2557). รายงานสภาพการจัดการศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (เขตตรวจราชการที่ 4) และกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 (เขตตรวจราชการที่ 5) ปีการศึกษา 2556. ราชบุรี : สำนักงานศึกษาธิการภาค 6.
คณะกรรมการคุรุสภา. (2548). สำนักมาตรฐานวิชาชีพ. มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพ:สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.
จิตราวรรณ บุตราช. (2551). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ สำหรับรายวิชา การจัดการธุรกิจท่องเที่ยวของวิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ กรณีศึกษาการท่องเที่ยวในประเทศไทย ภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร. (2550). การวิจัยและพัฒนาจิตตปัญญาศึกษาในอุดมศึกษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ชมพูนุช ร่วมชาติ. (2548) อนาคตภาพของหลักสูตรวิชาชีพของครูในทศวรรษหน้า(พ.ศ. 2550-2559). ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. (การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชลลดา ทองทวี และคณะ. (2551). จิตตปัญญาพฤกษา: การสารวจและสังเคราะห์ความรู้จิตตปัญญาศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
ชูเกียรติ ลีสุวรรณ. (2531). การให้ความรู้ความเข้าใจแบบมีส่วนร่วมในระดับตำบลในเรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลำปาง. เชียงใหม่ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณัฐฬส วังวิญญู. (2551). มหาวิทยาลัยทางจิตวิญญาณร่วมสมัย พันธกิจของมหาวิทยาลัยแห่งการตื่นรู้: นาโรปะ. ค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2551, จาก http://www.midnightuniv.org/midnight
2544/0009999943.html.
ทบวงมหาวิทยาลัย. (2543).สรุปผลการประชุมสัมมนา เรื่อง เครือข่าย: การพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย (อัดสำเนา).
ทวีป อภิสิทธิ์. (2551). การสร้างสมรรถภาพวิชาชีพของครู โดยใช้กิจกรรมเป็นสื่อ. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ .พิมพ์ครั้งที่ 1.
ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2547). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เทือน ทองแก้ว. (2557). สมรรถนะ (Comptency): หลักการและแนวปฏิบัติ.กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ธนภาส อยู่ใจเย็น. (2553) การพัฒนารูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการฝึกอบรมแบบผสมผสานตามแนวคิดการเรียนรู้เป็นทีม เพื่อพัฒนานวัตกรรมด้านการตลาด และพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธนา นิลชัยโกวิทย์ และคณะ. (2550). รายงานการวิจัยพัฒนาชุดการเรียนรู้การอบรมกระบวนการ แนวจิตตปัญญาศึกษา. กรุงเทพฯ: [ม.ป.พ.]. (เอกสารอัดสาเนา).
ธนา นิลชัยโกวิทย์. (2551). ศิลปะการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงแนวจิตตปัญญา ศึกษา ในจิตตปัญญาศึกษา: การศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์. กรุงเทพฯ: โครงการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
ธีรศักดิ์ อัครบวร(2542) ความเปนครู. พิมพครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ก.พลพิมพ จํากัด
ธัญญมาศ ดุษฎี. (2553) การศึกษาสภาพปัญหาและความคาดหวังต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารในการเรียนการสอนของอาจารย์ในโรงเรียนสารสาส์นวิเทศบางบอน กรุงเทพ, ภาควิชาเทคโนโลยี การศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นรินทร์ สังข์รักษา. (2555). “การถอดบทเรียน : เทคนิควิธีการเรียนรู้บทเรียนเพื่อการพัฒนาชุมชน.” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 9 (2) : 18-33.
นีออน พิณประดิษฐ์. (2545). จริยธรรม:ทฤษฎีและการพัฒนา. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (เอกสารอัดสาเนา).
ประเวศ วะสี. (2550). มหาวิทยาลัยกับจิตตปัญญาศึกษาและไตรยางค์แห่งการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา.
. (2547). ธรรมชาติของสรรพสิ่ง: การเข้าถึงความจริงทั้งหมด. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสานึกรักบ้านเกิด.
ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. (2543). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
พลวัต วุฒิประจักษ์. (2553). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาจิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักศึกษาครูเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะบัณฑิตครูที่พึงประสงค์.วิทยานิพนธ์ปริญญา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์ และbasanti Majumdar. (2544). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหา.กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรสแอนด์กราฟฟิค.
พิมพ์พันธ์ เตชะคุปต์ และพรทิพย์ แข็งขัน. (2551). สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิก.
พยัต วุฒิรงค์. (2555). การจัดการนวัตกรรม: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: สำนัก พิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2553). กลยุทธ์การสอนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ.กรุงเทพ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2553.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์และคณะ. (2554).กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย : จากการวิจัยสู่การปฏิบัติ.พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพ.
มาเรียม นิลพันธุ์ และคณะ. (2550). รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาการเรียนรู้และแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ในการจัดการศึกษาของคณะการรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ยนต์ ชุ่มจิต. (2553). ความเป็นครู กรุงเทพ โอเดียนสโตร์
รัตนา ดวงแก้ว. (2548). คู่มือการถอดบทเรียนโครงการพัฒนาชุมชน (Online). Retrieved 11 November 2012. Available from : http://222.banprak-nfe-com.
วิจารณ์ พานิช. (2556). ส่งความสุขสู่คุณภาพการศึกษา 2556. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดความรู้ เพื่อสังคม.
. (2556). สนุกกับการเรียนในศตวรรษที่ 21 กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
. (2550). เรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ การศึกษาดั่งเส้นทางแสวงหาทางวิญญาณ. กรุงเทพฯ: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ.
. (2555). พลังการเรียนรู้ในกระบวนทัศน์ใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร:
เอสอาร์พริ้นติ้ง.
วิรัตน์ คาศรีจันทร์. (2544). จิตสานึกพลเมืองในบริบทประชาสังคมไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประชากรศึกศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
วิวัฒน์ ขัตติยะมาน. (2549). “การจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริง (Authentic Instruction).”ใน วารสารสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยทักษิณ 5,1 (มกราคม – มิถุนายน 2549) : 52-63.
วิศิษฐ์ วังวิญญู. (2550). คู่มือกระบวนกร ศาสตร์และศิลป์แห่งการหันหน้าเข้าหากัน. กรุงเทพฯ: [ม.ป.พ.]. (เอกสารอัดสาเนา).
วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ช. พิมพ์ครั้งที่ 10. นครปฐม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
_________. (2556). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 3. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2545). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตช่วงทุกวัย. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ โรงพิมพ์ธรรมศาสตร์.
ศิริรัตน์ ชุณหคล้าย และคณะ. (2546). การค้นหานวัตกรรมในการพัฒนาข้าราชการ.นครปฐม: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศุภชัย หล่อโลหการ. (2550). “หนึ่งทศวรรษหลังวิกฤตเศรษฐกิจ หนึ่งเดือนหลังวิกฤตค่าเงินบาท บทสรุปความสามารถด้าน “นวัตกรรม” ของไทย.” มติชน. 23 มกราคม 2550 : 5.
สามารถ ศรีจำนง. (2528). เอกสารเรื่องการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม. เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สิทธิณัฐ ประพุทธนิติสาร. (2552). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม : แนวคิดและแนวปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 4. เชียงใหม่ : วนิดาการพิมพ์.
สินธุ์ สโรบล. (2554). วิธีวิทยาวิจัยเพื่อการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาชุมชน. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.
สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2555). “กลยุทธ์การพัฒนาครูพี่เลี้ยงตามหลักการเรียนรู้เป็นทีมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนของครูวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน มัธยมศึกษา.” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 9 (2) : 84-85.
สุภางค์ จันทวานิช. (2531). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุมน อมรวิวัฒน์. (2549). บทบาทของสถาบันการศึกษาต่อการพัฒนาจิตใจ. กรุงเทพฯ: เจริญผล.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2549). นวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการ ศึกษา. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 2549. เข้าถึงได้จาก http://school.obec.go.th/sup_br3/t-I.htm.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.(2552). นโยบายหลักเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูป การศึกษาในทศวรรษที่สอง (2552-2561) กรุงเทพ.
. (2555). รายงานการวิจัย เรื่อง นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศสมาชิกองค์กรระดับนานาชาติ. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูป การศึกษาในทศวรรษที่สอง(พ.ศ.2552-2561) . กรุงเทพ: โรงพิมพ์พริกหวานกราฟฟิก.
อรศรี งามวิทยพงศ์. (2549). กระบวนการเรียนรู้ในสังคมไทย และการเปลี่ยนแปลง : จากยุคชุมชนถึงยุคพัฒนาความทันสมัย. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยการจัดการทางสังคม.
อาชัญญา รัตนอุบล . (2547). การเรียนรู้จากการปฏิบัติ : จากทฤษฏีสู่การประยุกต์ในการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย.,มนัสวาสน์ โกวิทยา, การศึกษานอกระบบโรงเรียนแนวทางการศึกษาและกิจกรรมที่หลากหลาย, 1-19. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์ (2552) Competency development roadmap (CDR) .กรุงเทพฯ :เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
อำนวย เดชชัย. (2544). นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา.
Barber, M. (2552). ระบบโรงเรียนคุณภาพระดับโลก ขึ้นมาสู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพชั้นนำได้อย่างไร. แปลจาก How the world’s best-performing school systems come out on top. แปลโดย สุรศักดิ์ หลาบมาลา และสุรางค์ วีรกิจพาณิชย์. กรุงเทพฯ:สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
อธิพงศ์ ฤทธิชัย. (2557). แนวคิดเรื่องสมรรถนะ. เข้าถึงเมื่อ ตุลาคม. เข้าถึงได้จาก http://www.jobpub.com/articies/showarticle.asp?id=2213.
ภาษาต่างประเทศ
Boyatzis, R.E. (1982). The Competent Manager. New York: McGraw-Hill.
Bush. (2006). Transformative Learning: Theory to PracticeP. Cranton (ed.) New Directionsfor Adult and Continuing Education no.74, CA: Jossey-Bass, pp.5-12.
Chin, R., and Bennis, W.R. (1969). The Planning of Change. New York : Holt,
Rinehart and Winston.
Christopher, D. S. (2007) Contenplative Practive : Transforming the Meaning of Educational. Online]. Accessed January 2 Available from http://eduspaces.net/esessums/wabiog/145790.html.
Collison, C. & Geoff, P. (2001). Learning to fly. UK. Capstone Publishing Limited.
Correia, M. P. & McHenry, J.M. (2002). The Mentor’s Handbook. Christopher- Gorden Publishing, Inc.
Daud, S., Eladwiah, R., Rahim, A., & Alimun, R. (2008). International Journal of Human and Social Sciences [online]. Accessed 2 October 2013. Available
fromhttp://www.waset.org/journals/ijhss/v3/v3-1-10.pdf
Danielson, C. (1996) Enhancing Professional Practice: A Framework for Teaching.
Association for Supervision and Curriculum Development.
Daughtrey, A., and Ricks, B.R. Contemporary Supervision. New York : McGraw-Hill.
Davila, T., Epstein, M.J., & Shelton, R. (2006) Making Innovation Work: How to Manage It, Measure It, and Profit from It. Upper Saddle River : Wharton School
Publishing.
Dick ,W. , Carey, L. & O Carey, J. (2005).The Systematice Design of Instruction.6 th ed. Boston: Pearson.
Dilworth, Paulette. (2012). EBSCO HOST Conection [online]. Accessed 2 October 2013.Available from http://connection.ebscohost.com/c/articles/76131446/
framework-instructional-innovation-preparation-tomorrows-teachers
Gutex, G.L. (1988) Education and Schooling in America. New Jersey : Prentice-Hall.
Hart, T. (2004). Opening the Contemplative Mind in the Classroom. Journal of Transformative Education, 2(1), 28 -46.
Haynes, D.J. (2004). Contemplative Practice and the Education of the Whole Person. Retrieve January 18, 2007, from http://www.contemplativemind.org/academic/Haynes.pdf.
Hughes, T. P. (2004). Human-Built World : How to Think about Technology and Culture. Chicago : University of Chicago Press.
Johns, C. (2000). Becoming a Reflective Practitioner. London: Blackwell Science.
Joyce, B., and Showers, B. (1983). Power in Staff Development Through Research on Training. Alexandria, Virginia: Association for Supervision and Curriculum Development.
Knowles, M. S. (1978). Self-directed Learning : A Guide for Learners and Teachers. Englewood Cliffs: Prentice Hall/Cambridge.
Kruse, K. (2008) Introduction to Instructional Design and the ADDIE Model [online]. Accessed 10 October 2008.Available from http://www.e-learningguru.com/articles/art2_1.html.
Knowles, M. (2556). Adult Learning Theory and Principles ( ออนไลน์), เข้าถึงเมื่อ 27 กันยายน 2556 เข้าถึง ได้จาก www.qotfc.edu.au/resource/?page=65375.
Marzano RJ. (2007). Art and Science of Teaching. Virginia USA : ASCD McCall, J. (1997). The Principal as Steward. Larchmont, New York : Eye on Education.
Neufeld, B., and Roper, D. (2003). Coaching: A Strategy for Developing Instructional Capacity, Promises, and Practicalities. Washington, D.C.: Aspen Institute Program on Education and Providence, RI : Annenberg Institute for School Reform, 2003. Download Available on the Web at http://www.annenberginstitute.org/publications/list.html.
Roeser, R.W. & Peck, S.C. (2009). An Education in Awareness: Self, Motivation, and Self- Regulated Learning in Contemplative Perspective. Educational Psychologist, 44(2), 119-136.
SEAMEO INNOTECH (2010). Teaching Competency Standards in Southeast ASIAN Countries. Philippine : SEAMEO INNOTECH.
Senge, P. M. (1990). The Fifth Discipline .The Art and Practice of The Learning Organization. New York: Doubleday Currency
Spears, H. (1967). Curriculum Planning Through In-Service Programs. Englewood Cliffs, New York: Prentice-Hall.
Summayao, B.R. (2542). (8 เมษายน 2542). เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research). เชียงใหม่ : สาขาวิชาการพัฒนาการท่องเที่ยว คณะธุรกิจการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
Sweeny, B.W. (2008). Teacher Induction and Mentoring Program. 2nd ed. Corwin Press.
UNESCO. (2007). Educaiton for Sustainable Development: Linking Learning and Happiness. Bangkok: UNESCO Bangkok.
Weinstein,K. (1999). Action learning : A Partial Guide . Hampshire, England, Gower Publishing Limited. [on-line] Available from: http:// www.recoftc.org/site/index.php.
Wiles and Bondi. (2004). Supervision: A Guide to Practice. 6th ed. New Jersey: Pearson Merrill Prentice-Hall.
Whyte, W.F. (1991). Participatory Action Research. London : Sage Publications.
Youyan, N., & Tan, G.H. (2012). Springer Science+Business Media [online]. Accessed 2 October 2013.Available from http://link.springer.com/article/10.1007%2Fs10671-012-9128-y#page-2
Zepeda, S.J. (2012). Instructional Supervision: Applying Tools and Cloncepts. 3rd ed. New York: Eye On Education, Inc.