ISSN: 1906-117X

วารสาร

การศึกษาผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเกมร่วมกับ เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ STAD

A Study on Achievement and Satisfaction of Mathematics Learning on Probability of Mathayomsuksa 4 by using game and STAD Learning Technique
ขอบเขต: คณิตศาสตร์เพื่อการศึกษา

ลลิตา ขุมมิน

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วรรณภร ศิริพละ

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเกมร่วมกับเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ STAD และศึกษาความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนการสอนเกมร่วมกับเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ STAD กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนราชวินิต มัธยม จำนวน 33 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเกมร่วมกับเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ STAD เรื่อง ความน่าจะเป็น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเกมร่วมกับเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ STAD สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเกมร่วมกับเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ STAD สูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเกมร่วมกับเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ STAD อยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

Research objective were to compare mathematics achievement on probability of Mathayomsuksa 4 students before and after learning by using game and STAD learning technique and to study the satisfaction of game and STAD learning technique. Research sample was 33 Mathayomsuksa 4 students who have poor achievement. Research instrument were learning plan on probability by using game and STAD technique, learning achievement test and satisfaction questionnaire of learning by using game and STAD technique. Data was analyzed by mean, standard deviation and hypothesis testing by t-test. The results showed that a learning achievement after learning by using game and STAD technique is higher than before at significant level .05 and satisfaction of learning by using game and STAD technique was in very high level.

คำสำคัญ

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเกมร่วมกับเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ STAD, ความน่าจะเป็น, ความพึงพอใจ

Keywords

learning by using game and STAD technique, probability, satisfaction

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จาตุพักตร์ พากเพียร. (2559). การพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์โดยใช้โมเดลแอบสแตรกโคดเป็นฐานสำหรับเพิ่มทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา.
ทิศนา แขมมณี. (2557). 14 วิธีการสอนสำหรับครูมืออาชีพ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิริยา เลิกชัยภูมิ. (2556). ประสิทธิภาพการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้เกมทางคณิตศาสตร์สำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์
ศึกษา มหาวิทยาลัย ศิลปากร.
เพ็ญประภา อุดมฤทธิ์. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้ชุดการเรียนการสอนเรื่อง สมการกำลังสอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือตามรูปแบบ STAD. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เพ็ญศิริ ศรีชมภู. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สุวินทวงศ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วิสุทธิ์ คงกัลป์. (2558). Math League. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสาวณี แก้วสามสี. (2560). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD กับการเรียนปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.