ISSN: 1906-117X

วารสาร

ศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยความสำเร็จการเรียนออนไลน์ แอปพลิเคชันไลน์ ในช่วงวิกฤต COVID 19

The study of Learning behavior and the successful factors of online Learning (Line Application Program) in COVID 19.
ขอบเขต: เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

นิตยา มณีวงศ์

คณะวิทยาการจัดการ มรภ. บ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการเรียนในแอปพลิเคชันไลน์ 2) สำรวจปัจจัยแห่งความสำเร็จของการเรียนในแอปพลิเคชันไลน์ 3) ศึกษามุมมองต่อการเรียนออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่กำลังศึกษาชั้น ปี 3 ปีการศึกษา 2562 สาขาการจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาการจัดการ จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรม ปัจจัยแห่งความสำเร็จ มุมมองต่อการเรียนในแอพพลิเคชั่นไลน์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบสอบถามปลายเปิดจากการวิเคราะห์เนื้อหาที่มีความคล้ายคลึงกัน ผลการวิจัย พบว่า 1) พบว่า นักศึกษามีความรู้ด้านเทคโนโลยี ร้อยละ 71.7 มีความคุ้นเคย Facebook ร้อยละ 81.7 ระดับความง่ายของแอพพลิเคชั่น เป็น Line Video Call ร้อยละ 85 ใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ร้อยละ 76.6 สัญญาณที่เข้าถึง ใช้ระบบ Wifi ร้อยละ 76.7 ที่พักของนักศึกษาร้อยละ 83.3 ช่วงเช้าของการเรียน ร้อยละ 90 เวลาที่เหมาะสมต่อการเรียน 1.30 ชั่วโมง วัตถุประสงค์การเข้าเรียนเพื่อเก็บคะแนน ร้อยละ 60 2) ปัจจัยแห่งความสำเร็จ การสอน ผู้เรียน เนื้อหาและเทคโนโลยี อยู่ในระดับมากทุกด้าน 3) มุมมองต่อการเรียน พบว่า ลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าอาหารและอื่น ๆ แต่จ่ายเงินเพิ่มความเร็วของอินเตอร์เน็ต การปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนดี เป็นกันเอง มีความสุขในการเรียน แต่เป็นวิชาภาษาอังกฤษอาจจะมีความยากต่อการเข้าใจในการเรียนแบบออนไลน์

Abstract

The study was behavior and the successful factors of online Learning (Line Application Program) in COVID 19. Aiming to 1) study the behavior of on-line learning in Line application program 2) survey the successful factor of on-line learning in Line application program 3) study the point of view of on-line learning in Line application program. Sample was used by the 60 junior-students, Logistics Management, Faculty of Management Science. The questionnaires were analyzed using descriptive statistics with frequency, percentage, and standard deviation. The results were as follows: 1) on-line Learnings’ behavior are 71%, Technology knowledge: 81.7 %, familiar with Facebook : 85% easily access internet with line video call: 85% , by using desktop computer : 76.7% with their own place: 83.3%, morning class preference : 90%, suitable time :1.30 hrs. and the objective of on-line studying was getting score from attendant. 2) the successful factors are total high level with Teaching (x̄ =3.9667, SD =0.54480), Learning (x̄ =3.5583, SD =0.64828), Content (x̄ =3.8042, SD =0.66238) and Technology (x̄ =3.6958, SD =0.54480) 3) The highest points of view were decreasing the cost of travelling, meals and others but increasing the upgrade internet, the good interactive with a lecturer but the difficulties of English subject to the obstacle of easily understanding on-line learning.

คำสำคัญ

พฤติกรรม การเรียนรู้ออนไลน์ นักศึกษาการจัดการโลจิสติกส์

Keywords

behavior, on-line learning, logistics students

เอกสารอ้างอิง

กายกาญจน์ เสนแก้ว. (2558). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของ Gen-X ในกรุงเทพมหานคร. การ ค้นคว่าอิสระ บริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
จิราภรณ์ สรรพวีรวงศ์และคณะ. (2559). ความสุขของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. Songklanagarind Medical Journal.
ชเนตตี สยนานนท์. (2555). พฤติกรรมและปัญหาการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชนินทร์ ตั้งพานทอง. (2560). ปัจจัยที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนออนไลน์เพื่อเสริมการเรียนการสอน. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
โปรดปราน พิตรสาธร. (2545). ที่นี่ e-learning. กรุงเทพฯ: ทีเจบุ๊ค.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง e-Learning ทางเลือกใหม่ของการศึกษาในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ hanompo.edu.cmu.ac.th/load/journal/44-49/e-Learning.pdf
พชร ลิ่มรัตนมงคลและ จิรัชฒา วิเชียรปัญญา. (2556). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการเรียนออนไลน์ของ ผู้เรียนโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย. รังสิตสารสนเทศ ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2556.
พรพิมล บูรณเบญญา และเพ็ญจิรา คันธวงศ์. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้ความพึงพอใจของผู้ใช้ สื่อ สังคมออนไลน์ของคนวัยท างาน:กรณีศึกษาแอปพลิเคชัน “ไลน์” ที่เป็นเครือข่าย สังคมออนไลน์. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2557 (หน้า 442-453). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.
มณฑิรา คำรงมณี. (2556). การสอนออนไลน์ จากกระบวนการและกลยุทธ์สู่อุปสรรคและแนวทางแก้ไข: กรณีศึกษาจากโครงการความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง 2012. ภาษาปริทัศน์. รายการวิทยุสอน ภาษาอังกฤษออกอากาศทางสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์ FM 101.5.
วัชรวิชย์ นันจันที. (2558). ไลน์ทางเลือกใหม่เพื่อการเรียนการสอน. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2562). www. http://lineforinstruction.blogspot.com/.
วรวุฒิ มั่นสุขผล และปุณเชษฐ์ จินางศุกะ. (2558). การศึกษาพฤติกรรมและความต้องการใช้อีเลิร์นนิ่งของ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อนุชา สะเล็ม. (2560). การประยุกต์ใช้ E-Learning ในกระบวนการเรียนการเสนอวิทยาลัยเทคโนโลยี บริหารธุรกิจมีนบุรี กรุงเทพ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.
อภิชญา วิศาลศิริรักษ์. (2559). พฤติกรรมการใช้ไลน์กรุ๊ปและความพึงพอใจในความสัมพันธ์ภายในกลุ่มของวัย ทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน คณะวารสาร ศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อุดมศิลป์ ปิ่นสุข. (2559). วิจัยชั้นเรียน สมาธิของชั้นเรียน. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2563. https://www.gotoknow.org/posts/294111.
Chalernvanichkorn, W. (2013). Analysis of the Different Elements of the Brand during
Krating Dang vs. Red Bull. Retrieved from http://inside.cm.mahidol.ac.th/mkt/
attachments/553_KratingDang%20vs%20Red%20Bull%20Analysis.pdf.
R. David L. Campbell. (1999). On-line database updating network system and method. Retrieved from https://patents.google.com/patent/US5937405A/en.
Krutus. (2000). e-Learning. [online]. Availablehttp://www.nectec.or.th/courseware/cai/0018.html (11 April 2007)
Landry Lauren. (2014). Online Learning is just as Effective as Traditional Education, According to a New MIT Study. [online]. Available
https://www.americaninno.com/boston/mit-study-how-do-online-courses-compare-to-traditional-learning/.