ISSN: 1906-117X

วารสาร

การรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดชลบุรี

Media Literacy in Lower Secondary School Students in Chonburi Province
ขอบเขต: การบริหารการศึกษา

นวลักษณ์ กลางบุรัมย์

นักวิชาการอิสระ

พัชนา สุวรรณแสน

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ปริญญา เรืองทิพย์

มหาวิทยาลัยบูรพา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดชลบุรี และเปรียบเทียบการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดชลบุรีจําแนกตามเพศ ระดับชั้น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และประเภทของโรงเรียน ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 448 คน จากวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ One-way ANOVA ผลการศึกษา พบว่า 1) นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดชลบุรี มีการรู้เท่าทันสื่อในระดับมาก เมื่อพิจารณาจากเพศ พบว่า นักเรียนชายและนักเรียนหญิงมีระดับการรู้เท่าทันสื่อในระดับมาก เมื่อพิจารณาจากระดับชั้น พบว่า นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, 2 และ3 มีการรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับต่ำมีการรู้เท่าทันสื่อในระดับปานกลาง ส่วนนักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับปานกลางและระดับสูงมีการรู้เท่าทันสื่อในระดับมาก และเมื่อพิจารณาจากประเภทของโรงเรียน พบว่า นักเรียนที่เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและนักเรียนที่เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน มีการรู้เท่าทันสื่อในระดับมาก ส่วนนักเรียนที่เรียนในโรงเรียนสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นมีการรู้เท่าทันสื่อในระดับปานกลาง 2) การเปรียบเทียบระดับการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า เพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และประเภทของโรงเรียนที่ต่างกัน จะมีการรู้เท่าทันสื่อแตกต่างกัน ส่วนระดับชั้นเรียนที่ต่างกันจะมีการรับรู้การเท่าทันสื่อไม่แตกต่างกัน

Abstract

The objectives of this study were; 1) to study the level of media literacy of lower secondary school students in Chonburi Province 2) to compare the level of media literacy of lower secondary school students in Chonburi Province considered each aspect at gender, class, learning achievement and type of school. The samples of this study were 448 students in lower secondary school students in Chonburi Province. The samples were collected by questionnaires. The statistic method sused for analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test, and One-Way ANOVA. The results of this study indicated that 1) media literacy of lower secondary school students in Chonburi Province were at the rather high level. Male and female students were at the high level of media literacy skills. Students in Matthayom Suksa I, II and III were at the high level of media literacy skills. Students with low learning achievement were at the moderate level of media literacy skills, students with moderate and high learning achievement were at the high level of media literacy skills. Students at schools under the Department of Local Administration were at the moderate level of media literacy skills, students at school under Office of Basic Education Commission and Office of the Private Education Commission were at the rather high level of media literacy skills. 2. There was a significant difference at .05 level of the media literacy of lower secondary school students in gender, learning achievement and types of schools.

คำสำคัญ

การรู้เท่าทันสื่อ, มัธยมศึกษาตอนต้น, ชลบุรี

Keywords

Media Literacy, Lower Secondary School Students, Chonburi

เอกสารอ้างอิง

กฤชณัท แสนทวี. (2553). พฤติกรรมการเปิดรับและระดับการรู้เท่ากันสื่อของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ขจรจิต บุนนาค. (2555). ความคิดเห็นของวัยรุ่นตอนต้นต่อการรู้เท่าทันสื่อ. ใน การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัย กรุงเทพ ประจำปี 2555, หน้า 3-11, ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
นิธิดา วิวัฒน์พาณิชย์. (2558). การพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 9(3), 209-219.
บุบผา เมฆศรีทองคำ. (2554). การรู้เท่าทันสื่อ: การก้าวทันบนโลกข่าวสาร. วารสารนักบริหาร. 31(1), 117-123.
บุบผา เมฆศรีทองคำ และดนุลดา จามจุรี. (2554). การศึกษาการรู้เท่าทันสื่อ: วิถีทางในการสร้างพลังการรู้เท่าทัน สื่อ. วารสารนักบริหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. 31(2), 63-69.
ปภัสรา คล้ายชม. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการฟุ่มเฟือยของ นักเรียนชั้นมัธยมปลาย ในกรุงเทพมหานคร. โครงการประชุมเชิงวิชาการ SWUMBA Research Conference. 17 กรกฎาคม 2555 โรงแรมจัสมินเอ็กเซกคิวทีฟสวิท.
วรัชญ์ ครุจิต และฉัตรฉวี คงดี. (2554). การสำรวจการเรียนการสอนความรู้เท่าทันสื่อในสถาบันอุดมศึกษาใน ประเทศไทย. คณะนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีปทุม. โดยการสนับสนุนจากแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะ เยาวชน (สสย.)
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.). (2556). 100 เรื่องน่ารู้ผู้บริโภคสื่อวิทยุ-โทรทัศน์. กรุงเทพฯ: กสทช.
อนงค์นาฏ รัศมีเวียงชัย และกิติมา สุรสนธิ. (2556). การรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ในโรงเรียนชุมชนประชาธิปัตย์วิทยาคาร. กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Bovert, E. & Breda, I. (2008). Adolescents and the internet: media appropriation and perspectives on education. Retrived from http://www.irma-international.org/
Buckingham, D. (2005). Media Literacy. Retrived from http://www.medienpaed.com/05-1/Buckingham 05-1.pdf
Gialamas, V., Nikolopoulou, K., and Koutromanos, G. (2013). Student teachers' perceptions about the impact of internet usage on their learning and jobs. Computers & Education, 62, 1-7.
Hair, Black, Babin and Anderson (2014). Multivariate data analysis. 7th ed. Harlow: Pearson Education Limited.
Zhang, H., & Zhu, C. (2016). A study of digital media literacy of the 5th and 6th grade primary students in Beijing. The Asia-Pacific Education Researcher, 25(4), 579-592.