ISSN: 1906-117X

วารสาร

รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาที่เสริมสร้างสมรรถนะครูตามมาตรฐานวิชาชีพ

The Course of Development Model to Enhance for Teacher Competency According to Professional Standards
ขอบเขต: หลักสูตรการสอน

พัชรีภรณ์ บางเขียว

กลุ่มวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชัยยศ ดำรงกิจโกศล

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

พิษณุ บางเขียว

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาที่เสริมสร้างสมรรถนะครูตามมาตรฐานวิชาชีพ และ 2) ประเมินรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาที่เสริมสร้างสมรรถนะครูตามมาตรฐานวิชาชีพ กลุ่มเป้าหมายของการวิจัย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตร และมาตรฐานวิชาชีพครู จำนวน 9 คน ครูที่กำลังศึกษาอยู่ในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู จำนวน 30 คน และผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ของรูปแบบ ชุดการสอน แบบทดสอบ แบบประเมินผลงาน แบบประเมินพฤติกรรม และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ ผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาที่เสริมสร้างสมรรถนะครูตามมาตรฐานวิชาชีพ พบว่า รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรรายวิชา ประกอบด้วยขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรที่สัมพันธ์กัน จำนวน 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การเตรียมการ 2) การออกแบบและสร้างหลักสูตร 3) การนำหลักสูตรไปใช้ และ 4) การประเมินผลหลักสูตร ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรรายวิชา โดยการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ในระดับมาก และผลการทดลองใช้หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นตามรูปแบบ พบว่า ผู้เรียนมีคะแนนการประเมินสมรรถนะด้านการพัฒนาหลักสูตร ทั้งความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด พร้อมทั้งมีผลการประเมิน ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาหลักสูตรของครูในระดับมาก ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานของงานวิจัย

Abstract

This research’s purposes are as follow; 1) to develop the course of development model to enhance for teacher competency according to professional standards and 2) to evaluate the course of development model to enhance for teacher competency according to professional standards. The target groups of the research include 9 experts of curriculum development and teacher professional standards, 30 teachers studying in the Graduate Diploma Program and 60 administrators of school. The research tools include structured interviews, assessments of the suitability and possibilities of patterns, learning management plans, quizzes, performance assessments form, behavioral observations form and teacher performance monitoring form. The analysis of this data was based on statistics, including: percentages, averages, standard deviation and t-test. The results of the research can be summarized as follows. Phase1: The results of the development of course development model consisted of 4 steps: 1) Preparation, 2) designing and constructing & making courses, 3) applying courses, and 4) evaluating courses. Phase2: Evaluation of course development model by evaluating the suitability and feasibility of the model and experimenting with course developed according to the model with teachers. It was found that the model was the most appropriate and feasibility at the high level, and a experiment of the course developed according to the format showed that students had a higher performance assessment score for course development, including knowledge, skills and attributes, than the required benchmarks and high level of performance satisfaction assessment in course development, which is based on the hypothesis.

คำสำคัญ

รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรรายวิชา , สมรรถนะครู , มาตรฐานวิชาชีพ

Keywords

Course Development Model, Teacher Competency, Professional Standards

เอกสารอ้างอิง

ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (2562, 20
มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 68 ง. หน้า 18-20.
ชนม์นิภา วรกวิน.(2560). การประเมินหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต
วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ วารสารมนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (มิถุนายน –
กันยายน 2560), 80-89.
ชัยยศ ดำรงกิจโกศล พิสิฐ เมธาภัทร และไพโรจน์ สถิรยากร. (2558). การ
พัฒนาระบบการประเมินหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนโดยสถาน
ศึกษา. วารสารวิชาการศิลปะศาสตร์ประยุกต์. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2, 80-88.
แทน โมราย ไพโรจน์ สถิรยากร พิสิฐ เมธาภัทร รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
ฝึกอบรมแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนงานของครูฝึก
ในสถานประกอบการ. (2560). วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม
พระจอมเกล้าพระนครเหนือ 247 ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม
2560), 247-255.
พิมพ์ปวีณ์ สุวรรณโณ. (2560). การพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะ
การวิจัยของอาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคใต้. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญา
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
พิมพร แคล้วคลาด และ กัญญรัชการย์ นิลวรรณ. (2560). แนวทางการ
พัฒนาครูตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาระนอง. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัย
ระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8. หน้าที่ 1712-1723.
มารุต พัฒผล. (2562). แนวคิดการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำ
นวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.
ศจี จิระโร. (2551). การประยุกต์ใช้วิธีการประเมินการปฏิบัติงานสำหรับ
ประเมินสมรรถนะของผู้ประเมินภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เพื่อต่ออายุการรับรอง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยา
การศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ, (2549). แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วย
Competency. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์.
สุราษฎร์ พรมจันทร์. (2552). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชา. สืบค้นจาก
http://www.fte.kmutnb.ac.th/km/R-Course%20
Development.pdf.
อธิวัฒน์ ศรีวิไล. (2558). การศึกษาผลกระทบของยานยนต์ไฟฟ้าประเภท
รถยนต์ต่อการใช้พลังงานของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วิศวกรรม
ศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Finch, R. Curtis and Crunkilton, R. John. (1979). Curriculum
Development in Vocational and Technical Education:
Planning, Content and Implementation. 2nd ed. U.S.A. : Allyn
and Bacon, Inc.
Katie Larsen McClarty and Matthem N. Gaertner. (2015). Measuring
Mstery Best Praictices for Assessment in Competency-Based
Education. https://files.eric.ed.gov/fulltext/
ED557614.pdf.
Mager, R.F. and Beach, K.M. (1967). Developing Vocational
Instruction. Belmont: Fearon Publishing.
Nell Ard Suzette Farmer Sharon F. (2019). Beasley and Keri Nunn-
Ellison Using the ACEN Standards in Curriculum
Development Teaching and Learning in Nursing. Volume 14,
Issue 2, April 2019, Pages A3-A7.
Oliva, Peter F. (1992). Developing the Curriculum. 3 rd ed. New York:
Harper Collins Publisher.
Patrick A. Pulley. (2020). Developing an Instructional Model in an
Industrial Application. ออนไลน์
https://core.ac.uk/download/pdf/60556413.pdf.
Sutee Sermsuk Chaiwichit Chianchana bPairote Stirayakornc.
(2014). A Study of Model of
Vocational Curriculum Development Under Vocational
Education Commission Using Cross-impact Analysis.
Procedia - Social and Behavioral Sciences Volume 116, 21
February 2014,1896-1901.
Tyler, Ralph W. (1950). Basic Principles of Curriculum and
Instruction. Chicago: The University of Chicago Press.