ISSN: 1906-117X

วารสาร

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือโดยรูปแบบซี.ไอ.อาร์.ซี. (CIRC)

: Development of Learning Achievement in the Thai Language Subject by Using Learning Activities of Active Learning together with Cooperative Integrated Reading and Composition (CIRC)
ขอบเขต: หลักสูตรการสอน

สุวีณา เดือนแจ้ง

โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตรื วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและภพัฒนาการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือโดยรูปแบบซี.ไอ.อาร์.ซี. (CIRC) กับเกณฑ์ร้อยละ 75 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนโดยใช้กิจกรรม การเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือโดยรูปแบบซี.ไอ.อาร์.ซี. (CIRC) 3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนที่ใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือโดยรูปแบบซี.ไอ.อาร์.ซี. (CIRC) กับวิธีการสอนแบบปกติ 4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังที่ใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือโดยรูปแบบซี.ไอ.อาร์.ซี. (CIRC) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา จำนวน 2 ห้องเรียน รวมนักเรียนทั้งหมด 70 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับสลากใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.30-0.78 และค่าอำนาจจำแนกมีค่าระหว่าง 0.38-0.81 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.76

Abstract

This research had 4 objectives as follows : 1. to compare the students’ learning achievements using the Active Learning (AL) together with the Cooperative Integrated Reading and Composition (CIRC) with the criterion of 75%, 2. to compare the students’ learning achievements before using the AL together with CIRC with those after, 3. to compare the students’ learning achievements using the AL together with CIRC with the normal teaching method, and 4. to find out the students’ satisfaction after using the AL together with CIRC. The research sample consisting of 70 students from 2 Mathayom-Seuksa-2 classrooms of Kasetsart University Laboratory School, Educational Research and Development Center in the first semester of academic year 2563 was selected by the method of Simple Random Sampling using a classroom as the sampling unit. The research instruments were composed of 6 lesson plans and a learning achievement test which had the difficulty or easiness index between 0.30-0.78, the discriminant index between 0.38-0.81and the reliability of 0.76.

คำสำคัญ

กิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก การเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ ซี.ไอ.อาร์.ซี. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

Keywords

Active Learning, COOPERATIVE INTEGRATED READING AND COMPOSTION: CIRC , Achievement

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. 2560. การประเมินผลการใช้ชุดการเรียนรู้แบบ Active Learning. วิชาภาษาไทยพื้นฐาน
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556.
กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์
การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2543). เอกสารชุดเทคนิคการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นสําคัญ
การบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา กรมการศาสนา.
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2543). การปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญที่สุด : แนวทางสู่การ
ปฏิบัติ เอกสารชุดปฏิรูปการเรียนรู้ลำดับที่ 2 โครงการปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุ
สภาลาดพร้าว.
กรมวิชาการ. 2545. การเรียนแบบร่วมมือ. กรุงเทพฯ. คุรุสภาลาดพร้าว.
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,สำนักงานกระทรวงศึกษาธิการ. 2555. หลักภาษาและการใช้ ภาษาเพื่อการ
สื่อสาร. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
กล้า พิมพ์วงษ์. (2543). ผลการเรียนแบบร่วมมือโดยโปรแกรม CIRC ต่อความสามารถในการอ่านจับใจความ
ภาษาไทย เจตคติ และความสัมพันธ์ทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม.
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เคียงเพ็ญ พรหมพล. (2551). การพัฒนาแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาล
อุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและ
ประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ชวลิต ชูกำแพง. (2550). การพัฒนาและจัดการหลักสูตร. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชมพูนุท บุญอากาศ. 2559. ผลการจัดการเรียนรู้แบบ CIRC ร่วมกับเทคนิคการสะท้อนคิดที่มีต่อ
ความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษและเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์สาขาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ :
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
เชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรื่องทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่มีต่อ
ความสามารถในการแกปัญหาทางคณิตศาสตร์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความเชื่อมั่น
ในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชา
คณิตศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ
ทิศนา แขมมณี. 2561. ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นัยนา จันตาวงศ์. 2551. การพัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธี ซี ไอ อาร์ ซี. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
ประถมศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เนตรวรา ศรีสิน. 2556. การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี เพื่อพัฒนาทักษะ
การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเรียนรู้ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต
กำแพงแสน.

บุญชม ศรีสะอาด. 2541. การพัฒนาการสอน. กรุงเทพฯ. ชมรมเด็ก.
ปรีชาญ เดชศรี. 2555. การเรียนรู้แบบ Active Learning : ทำได้อย่างไร. วารสาร สสวท.
ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ. 2551. การเรียนเชิงรุก (Active Learning). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
พจนา เขียนสะอาด. 2547. การศึกษาผลการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทยด้านการอ่าน และการเขียนเรื่อง
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยวิธีสอนแบบร่วมมือกัน เทคนิค CIRC. วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พูลศรี กิจเฉลา. 2544. การศึกษาความเข้าใจในการอ่าน ความสามารถในการเขียนภาษาไทย ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ที่ได้รับการสอนโดยการใช้กิจกรรมการเรียนแบบ CIRC กับการสอนตามคู่มือครู.
ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรจน์
ประสานมิตร.
วิมลรัตน์ สุนทรรัตน์. 2549. นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสารคาม.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. 2561. วรรณคดีวิจักษ์. ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน
ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 11 กรุงเทพมหานคร : สกสค ลาดพร้าว.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. 2545. วิธีการจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนากระบวนการคิด
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.
สมบัติ การจนารักพงค์. 2544 . การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การสอนแบบ
สรรค์สร้างความรู้. กรุงเทพฯ: แคนดิดมีเดีย.
ศรีวิไล พลมณี. 2545. ภาษาและการสอน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เคล็ดไทย.
Meyers, C; & Jones, T.B. 1993. Promotion Active Learning: Strategies for the College Classroom.
San Francisco: Jossey-Bass.