ISSN: 1906-117X

วารสาร

ความสามารถในการจับคู่และเปรียบเทียบ จำแนกและจัดกลุ่ม และเรียงลำดับของนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ปฐมวัย) ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบกิจกรรมประสาทสัมผัส

Comparison, ClassificatioThe Competence in Matching and n and Grouping, and Sequencing of Second-Year Preschool Students at Bansomdejchaopraya Rajabhat University Demonstration School (Early Childhood) Experienced in Storytelling Activities
ขอบเขต: สังคมศาสตร์เพื่อการศึกษา

ยุวรัตน์ จงใจรักษ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วรินทร แสงแดง

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการจับคู่และเปรียบเทียบ จำแนกและจัดกลุ่ม และเรียงลำดับของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ปฐมวัย) ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบกิจกรรมประสาทสัมผัส ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 อายุ 4-5 ปี ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ปฐมวัย) สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบประเมินความสามารถในการจับคู่และเปรียบเทียบ จำแนกและจัดกลุ่ม และเรียงลำดับ และแผนการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบกิจกรรมประสาทสัมผัส สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละของค่าเฉลี่ย ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบกิจกรรมประสาทสัมผัส มีความสามารถในการจับคู่และเปรียบเทียบ จำแนกและจัดกลุ่ม และเรียงลำดับโดยรวม (ค่าเฉลี่ย = 28.21, คิดเป็นร้อยละ 94.03) อยู่ในระดับดีมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับดีมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านการจับคู่และเปรียบเทียบความแตกต่างหรือความเหมือนของสิ่งต่าง ๆ (ค่าเฉลี่ย= 9.72, คิดเป็นร้อยละ 97.20%) ด้านการจำแนกและจัดกลุ่มสิ่งต่าง ๆ (ค่าเฉลี่ย = 9.31, คิดเป็นร้อยละ 93.10) และด้านการเรียงลำดับสิ่งของหรือเหตุการณ์ (ค่าเฉลี่ย= 9.17, คิดเป็นร้อยละ 91.70)

Abstract

The purpose of this research was to study the competence in matching and comparison, classification and grouping, and sequencing of second-year preschool students at Bansomdejchaopraya Rajabhat University Demonstration School (Early Childhood) experienced in storytelling activities with sensory activities. The research participants were 29 second-year preschool students (age 4-5 years old) who studied in the second semester of the academic year of 2020 at Bansomdejchaopraya Rajabhat University Demonstration School (Early Childhood) in affiliation with Bansomdejchaopraya Rajabhat University. The research instruments were 1) competency assessment form of matching and comparison, classification and grouping, and sequencing, and 2) activity plan for storytelling activities with sensory activities. The statistics used for analyzing the data were mean, standard deviation, and frequency of mean. The findings revealed that second-year preschool students who gained experience in storytelling activities with sensory activities had the overall ability to match and compare things, classify and group things, and order things in the very-good level ( = 28.21 or 94.03 per cent). When considering each ability, it found that the students’ competence was in the very-good level, i.e. matching and comparing the similarities and differences between things ( = 9.72 or 97.20 per cent), classifying and grouping things ( = 9.31 or 93.10 per cent), and ordering things or events ( = 9.17 or 91.70 per cent).

คำสำคัญ

การจับคู่และเปรียบเทียบ การจำแนกและจัดกลุ่ม การเรียงลำดับ นิทาน กิจกรรมประสาทสัมผัส

Keywords

Matching and Comparison, Classification and Grouping, Sequencing, Storytelling Activities, Sensory Activities

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: กระทรวง.
กุลพธู คมกฤส. (2553). การใช้การละเล่นพื้นบ้านไทยเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
เกริก ยุ้นพันธ์. (2539). การเล่านิทาน. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
จุไรพร รอดเชื้อ. (2547). การเรียนรู้โดยการเล่นที่มีต่อพัฒนาการทางทักษะคณิตศาสตร์ด้านจำนวนของเด็กปฐมวัย. คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ฉวีวรรณ กินาวงศ์. (2533). การศึกษาเด็ก. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ณัฐนันท์ วงศ์ประจันต์ และคณะ. (ม.ป.ป). คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
บุญเยี่ยม จิตรดอน. (2546). “การจัดประสบการณ์เพื่อสร้างมโนคติทางคณิตศาสตร์ ใน เอกสารการสอนชุดวิชา
การสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตระดับปฐมวัยศึกษา หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พิมลพรรณ บำรุงจิตร. (2561). ผลการจัดประสบการณ์ที่เน้นการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย. ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
พิสมัย พิลึก. (2552). การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย.ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
เพ็ญจันทร์ เงียบประเสริฐ. (2542). คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏภูเก็ต.
เพียงใจ ภู่โทสนธ์. (2561). ผลการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาที่มีต่อทักษะคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
มูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน. (2555, 20 กรกฎาคม). คุณค่าของนิทาน. สืบค้นจาก https://www.happyreading.
in.th/news/detail.php?id=293.
เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). กิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เอพี กราฟฟิกส์ ดีไซน์.
รัศมี ตันเจริญ (2561). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: ดวงแก้ว.
ศลิษา ณรงค์เลิศฤทธิ์. (2555). การศึกษาความสามารถทางภาษาและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเล่านิทานแบบมีส่วนร่วม. (ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา)
อุบลรัตน์ เพ็งสถิตย์. (2559). จิตวิทยาการเรียนรู้ PSYCHOLOGY OF LEARNING. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อรพินท์ ติระตระกูลเสรี. (2549). การใช้เกมการศึกษาที่มีต่อทักษะทางคณิตศาสตร์ด้านการเรียงลำดับของเด็กปฐมวัย. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาปฐมวัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.