ISSN: 1906-117X

วารสาร

การประเมินความต้องการจำเป็นทักษะทางสังคม สำหรับนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

The needs assessment for social skills among students in the Faculty of Management Science, Bansomdejchaopraya Rajabhat University
ขอบเขต: หลักสูตรการสอน

พิศิษฐ์ ชำนาญนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

สุพรรณี จองวิวัฒสกุล

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วรศิริ ผลเจริญ

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นทักษะทางสังคม สำหรับนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพที่เป็นจริงทักษะทางสังคม สำหรับนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่มีภูมิหลังแตกต่างกันในด้านเพศ และสาขาวิชา ตัวอย่างเป็นนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 344 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการจำเป็นทักษะทางสังคม ประกอบด้วยข้อคำถาม จาก 3 ด้าน มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.81 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีการจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง และการวิเคราะห์ค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. ดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง สามารถเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อยดังนี้ ทักษะการจัดการความโกรธ ทักษะการทำงาน และทักษะสัมพันธภาพระหว่างบุคคล 2. การเปรียบเทียบสภาพที่เป็นจริงทักษะทางสังคม สำหรับนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน พบว่าค่าเฉลี่ยในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่าเมื่อเพศแตกต่างกันทักษะการจัดการความโกรธแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อสาขาวิชาแตกต่างกันทักษะการจัดการความโกรธ ทักษะสัมพันธภาพระหว่างบุคคล และทักษะการทำงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The objectives of this research were 1) to need assessment for social skills among students in the Faculty of Management Science, Bansomdejchaopraya Rajabhat University, and 2) to compare the actual conditions of social skills for students in the Faculty of Management Science, Bansomdejchaopraya Rajabhat University with different demographic factors, in terms of gender and major field. The sample of this study was 344 students in the Faculty of Management Science, Bansomdejchaopraya Rajabhat University. A research instrument was a questionnaire on the needs for social skills, divided into three aspects. Its reliability was 0.81. Data were analyzed using statistics, including mean, standard deviation, Priority Needs Index Modified (PNI Modified), and t-test. The results of this study indicated as follows: 1. When Priority Needs Index Modified (PNI Modified) was considered, an aspect with the most priority was Anger Management Skills, followed by Work Skills, and Interpersonal Skills. 2. When actual conditions of social skills for the respondents with different demographic factors were compared, there was the difference in overall mean with a statistical significance level of .05. When individual aspects were considered, the respondents with different gender had different anger management with a statistical significance level of .05. The respondents with different major field had different anger management skills, interpersonal skills, and work skills with a statistical significance level of .05.

คำสำคัญ

ความต้องการจำเป็น, ทักษะทางสังคม, นักศึกษา

Keywords

Needassessment, Socialskill, Student

เอกสารอ้างอิง

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2551). ทักษะทางสังคมใครว่าไม่สำคัญ. [ออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www.kriengsak.com/index.php
ทรงเกียรติ ปิยะกะ. (2544). เลี้ยงลูกให้พันภัยยาเสพติด (ตามแนวทางจิราสา). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน.
พร ศรียมก. (2545). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการสอนงานของหัวหน้างานในโรงงานอุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต, ภาควิชาการศึกษานอกโรงเรียน บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรรณกนก รักศรีอักษร. (2554). ระดับทักษะทางสังคมของวัยรุ่นอายุ 18-24 ปี ที่เล่นเกมส์ออนไลน์โดยใช้ บริการที่ร้านอินเตอร์เนตในกรุงเทพมหานคร. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิต. บัณฑิต วิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รวิวงศ์ ศรีทองรุ่ง. (2540). การพัฒนาบุคลิกภาพเพื่อประชาสัมพันธ์. เพชรบุรี : โรงพิมพ์เพชรบุรีพริ้นติ้งแอนด์เปเปอร์.
วราภรณ์ ประทีปธีรานันต์. (2544). ปัจจัยทางจิตวิทยาและสภาพแวดล้อมในครอบครัว ที่ส่งผลต่อพฤติกรรม ความรุนแรงของนักโทษเด็ดขาด. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2563). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัจฉรา ไชยูปถัมภ์. (2550). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับนิสิตนักศึกษา. ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอุดมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Gresham, F. M,. and Elliot, S. N. (1990). Social skills rating system (SSRS). Circle Pines, MN : American Guidance Service.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement. 30(3).
Herbert, M. (2006). Clinical child and adolescent psychology from theory to practice. 3rd.ed. The Atrium: John Wiley & Sons.
Mantzicopoulos, P. (2003). Academic and school adjustment outcomes following placement in a developmental first-grade program. The Journal of Education Research 97(2)
Messe, Ruth Lyn. (2001). Teaching Learners with Mild Disabiletes : Intergrating Research And Pratice. 2nd ed. California : Wadsworth.
Raven, J. Competence in modern society. London : H.K. Lewis, 1984.
Rigio, Ronald E. (2007). The test of Variables of Attention (T.O.V.A). From http://www.mindalive.com.