ISSN: 1906-117X

วารสาร

การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาแบบดุลยภาพเพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัล

The Development of Balanced Scorecard (BSC) Admimistrative Strategies to Develop Digital Citizenship
ขอบเขต: การบริหารการศึกษา

กาญจนา เดชสม

มหาวิทยาลัยทักษิณ

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ

มหาวิทยาลัยทักษิณ

บทคัดย่อ

การบริหารแบบดุลยภาพ Balanced Scorecard (BSC) คือ กระบวนในการบริหารงานของสถานศึกษาที่ถูกกำหนดขึ้นโดยมีความเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา ได้มาจากการวินิจฉัยองค์การทั้งสภาพปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โดยแบ่งเป็นกลยุทธ์หลัก 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านผู้เรียน 2) ด้านการบริหารจัดการศึกษา 3) ด้านการเรียนรู้และพัฒนา และ 4) ด้านงบประมาณและทรัพยากร โดยมีกลวิธี (Tactics) ในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ การควบคุมและประเมินกลยุทธ์โดยการจัดทำตัว Key Performance Indicators (KPIs) การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาแบบดุลยภาพเพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัล ได้แก่ ส่งเสริมการศึการบริหารแบบดุลยภาพ (Balanced Scorecard : BSC) คือ กระบวนในการบริหารงานของสถานศึกษาที่ถูกกำหนดขึ้นโดยมีความเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา ได้มาจากการวินิจฉัยองค์การทั้งสภาพปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โดยแบ่งเป็นกลยุทธ์หลัก 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านผู้เรียน 2) ด้านการบริหารจัดการศึกษา 3) ด้านการเรียนรู้และพัฒนา และ 4) ด้านงบประมาณและทรัพยากร โดยมีกลวิธี (Tactics) ในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ การควบคุมและประเมินกลยุทธ์โดยการจัดทำตัวชี้วัดผลการดำเนิน (Key Performance Indicators : KPIs) การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาแบบดุลยภาพเพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัล ได้แก่ 1) ด้านผู้เรียน ส่งเสริมการศึกษาคุณลักษณะพลเมืองดิจิทัลที่พึงประสงค์ของประเทศ วิเคราะห์คุณลักษณะที่ พึงประสงค์ที่ต้องการปลูกฝังแก่นักเรียนผ่านหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 และฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560 2) ด้านการบริหารจัดการศึกษา เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงสื่อและแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการศึกษา 3) ด้านการเรียนรู้และพัฒนา ส่งเสริมการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ตระหนักถึงความสำคัญของความเป็นพลเมืองดิจิทัลและสามารถจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะพลเมืองดิจิทัล 4) ด้านงบประมาณและทรัพยากร เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการด้านการเงิน และสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้เรื่องดิจิทัลในสถานศึกษา

Abstract

Balanced Scorecard (BSC) is admimistration in schools that are swot analysis in the context of the school. It is obtained from the diagnosis of the organization both internal and external factors. The strategy is divided into four key areas: 1) The learners, 2) Educational administration, 3) Learning and development, and 4) Budget and resources, with tactics in implementing strategies and control and evaluate strategies by establishing Key Performance Indicators (KPIs). The development of balanced scorecard (BSC) admimistrative strategies to develop digital citizenship, 1)The learners aspects promote the education of desirable digital citizens of the country. Analyze desirable characteristics to be instilled in students through the core curriculum of basic education 2008 and revised 2017. 2) Educational administration increase opportunities to access media and learning resources. Use digital technology Increase efficiency in educational administration. 3) Learning and development promote the development of teachers and education personnel to realize the importance of digital citizenship and to be able to organize learner development activities to qualify digital citizens. 4) Budget and resources increase efficiency in financial management and create a network of educational cooperation to become a digital learning center in educational institutions.

คำสำคัญ

กลยุทธ์, การบริหารแบบดุลยภาพ, พลเมืองดิจิทัล

Keywords

Strategy, Balanced Scorecard Administrative, Digital Citizenship

เอกสารอ้างอิง

จรุณี เก้าเอี้ยน. (2557). เทคนิคการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา (พิมพ์ครั้งที่2). สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.
พสุ เดชะรินทร์. (2551). Balanced scorecard รู้ลึกในการปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรืองและอธิป จิตตฤกษ์. (2556). ทักษะแห่งอนาคตใหม่การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21= 21st
century skills: Rethinking how students learn. กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิร์ส.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์
พับลิเคชั่นส์.
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร. (2552). หลุดจากกับดัก BALANCED SCORECARD. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). สภาวะการศึกษาไทยปี 2559/2560 แนวทางการปฏิรูปการศึกษา
ไทยเพื่อก้าวสู่ยุค Thailand 4.0. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สุภารัตน์ จูตระกูล. (2559). ครอบครัวกับการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล (Digital Literacy) ของดิจิทัลเนทีฟ (Digital
Natives). วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(1),131-150.
อัจฉรา จันทร์ฉาย. (2558). การวางแผนกลยุทธ์และการทำ BSC. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Kaplan, R.S. and Norton, D.P. (1996). strategic learning & the balanced scorecard",
Strategy & Leadership, Vol. 24 No. 5, pp. 18-24.
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2553). การเรียนรู้ดิจิตัลเทคโนโลยีโรงเรียนมาตรฐานสากล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
Niven, P.R. (2002). Balanced Scorecard Step by Step Maximizing Performance and Maintaining
Results. New York: John Wiley & Sons.
Robbins, S.P. and Coulter, M. (2002). Management. (7th Edition). Prentice Hall: New Jersey.