ISSN: 1906-117X

วารสาร

การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยวัสดุเหลือใช้เพื่อส่งเสริมทักษะทางสังคมของเด็กวัยอนุบาล

AN ORGANIZING CREATIVE ART MADE FROM USED MATERIAL ACTIVITIES TO ENHANCE KINDERGARTENERS’ SOCIAL SKILLS
ขอบเขต: สังคมศาสตร์เพื่อการศึกษา

กุลชาติ พันธุวรกุล

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการช่วยเหลือผู้อื่น ด้านการแบ่งปันสิ่งของ และด้านการร่วมมือในการทำงาน ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยวัสดุเหลือใช้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนสุลักขณะ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 จำนวน 20 คน ใช้ระยะเวลาในการวิจัย 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์ด้วยวัสดุเหลือใช้ และแบบสังเกตทักษะทางสังคมของเด็กวัยอนุบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลอง เด็กวัยอนุบาลมีคะแนนค่าเฉลี่ยทักษะทางสังคมใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการช่วยเหลือผู้อื่น ด้านการแบ่งปันสิ่งของ และด้านการร่วมมือในการทำงาน สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ ระดับ 0.5

Abstract

The objective of research was to compare Kindergarteners’ social skills in 3 aspects, which were Helping others aspect, sharing aspect and collaboration aspect before and after organizing creative art made from used material activities. The samples were 20 Kindergarteners in K2, second semester of academic year 2018, Sulakkana school under the jurisdiction of pathum thani primary educational service area office 1. The research duration was 12 weeks. Research instruments were plans for creative art made from used material activities and kindergarteners’ social skills observation form. The data were analyzed by mean, standard deviation and t-test. The research finding was as follow: After the experiment, Kindergarteners had the social skills in 3 aspects, which were helping others aspect, sharing aspect and collaboration aspect mean score higher than those of before at 0.5 level of significance.

คำสำคัญ

กิจกรรมสร้างสรรค์ด้วยวัสดุเหลือใช้ , ทักษะทางสังคม , เด็กวัยอนุบาล

Keywords

CREATIVE ART MADE FROM USED MATERIAL ACTIVITIES, SOCIAL SKILLS, KINDERGARTENERS

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2547). คู่มือเลี้ยงลูกวัยอนุบาลให้เก่งฉลาดเป็นคนดีมีคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: สนุกอ่าน.
บุบผา เรืองรอง. (2554). กิจกรรมสร้างสรรค์ (Creative Activities) [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://taamkru.com/thกิจกรรมสร้างสรรค์/ [15 กุมภาพันธ์ 2562]
พรเพ็ญ บัวทอง. (2555). ผลการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยวัสดุธรรมชาติท้องถิ่นที่มีต่อพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การศึกษาปฐมวัย). ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พัชรี ผลโยธิน (2551) “การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านอารมณ์ จิตใจและสังคม”
ใน ประมวลสาระชุดวิชาการจัดประสบการณ์สาหรับเด็กปฐมวัย หน่วยที่ 11. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศึกษาศาสตร์.
พิจิตรา เกษประดิษฐ์. (2552). ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การศึกษาปฐมวัย). ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: แม็ค.
เยาวพา เดชะคุปต์. (2554). กิจกรรมสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2548). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิบูลย์ลักษณ์ สารวิจิตร. (2548). ศิลปะสำหรับครูประถม. กรุงเทพมหานคร: หลักสูตรและการสอน
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรนคริทรวิโรฒ.
วิรุณ ตั้งเจริญ. (2539). ศิลปศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2550). เอกสารประกอบการเรียนวิชา ECED 201 การศึกษาปฐมวัย Early Childhood Education. หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย.
สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2554). การวัดและประเมินเด็กแนวใหม่: เด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร:
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อโนชา ถิรธำรง. (2550). การใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การศึกษาปฐมวัย). ภาควิชาหลักสูตรและ
การสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.