ISSN: 1906-117X

วารสาร

ความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือปฏิบัติ โดยใช้เกม ในรายวิชาเทคโนโลยีและสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย

Creative Thinking of Early Childhood Education Program’s Students Faculty of Education Bansomdejchaopraya Rajabhat University Through Cooperative Learning Activities by using Games in Technology and Materials for Young Children Subject
ขอบเขต: สังคมศาสตร์เพื่อการศึกษา

ปิยลักษณ์ ไตรรัตนสุวรรณ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือปฏิบัติโดยใช้เกม และศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือปฏิบัติโดยใช้เกม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ชั้นปี 2 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาเทคโนโลยีและสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1 หมู่เรียน คือหมู่เรียน D1 รวมทั้งสิ้น 24 คน ได้มาจากการสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือปฏิบัติโดยใช้เกม 2) แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ 3) แบบสำรวจความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือปฏิบัติโดยใช้เกม แบบแผนการวิจัยที่ใช้เป็นแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (the one group, pretest-posttest design) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าที (t–test for Dependent) ผลการวิจัยพบว่า หลังนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือปฏิบัติโดยใช้เกม 1. นักศึกษามีความคิดสร้างสรรค์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ทุกด้าน คือ ด้านความคิดริเริ่ม ความคิดคล่องแคล่ว ความคิดยืดหยุ่น และความคิดละเอียดลออ 2. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือปฏิบัติโดยใช้เกมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (x ̅ =4.76, S.D.= 0.32)

Abstract

This research aims to study and compare creative thinking of early childhood education program’s students before and after the use of through cooperative learning activities by using games, and to study the satisfaction of students towards cooperative learning activities by using games. The sample used in the study was 24 students from the 2nd year early childhood education program’s at the Faculty of Education, Bansomdejchaopraya Rajabhat University (who enrolled in Technology and materials for young children subject in first semester of 2020). They were obtained using cluster random sampling method. The instruments used in this research study were 1) lesson plans of through cooperative learning activities by using games 2) a creativity test 3) a survey on study the satisfaction of students towards through cooperative learning activities by using games. The research followed the one group, pretest - posttest design and the data were statistically analyzed by mean, standard deviation and t–test for Dependent. The results of research were as: After early childhood education program’s students use of through cooperative learning activities by using games. 1. Early childhood education program’s students was statistically significantly higher at the .01 level in all aspects, namely the initiative aspect. The originality thinking, fluency thinking, flexibility thinking and elaboration thinking. 2. The satisfaction of early childhood education program’s students towards cooperative learning activities by using games were at the highest level (x ̅ =4.76, S.D.= 0.32).

คำสำคัญ

ความคิดสร้างสรรค์, การเรียนรู้แบบร่วมมือ, เกม

Keywords

Creative Thinking, Cooperative Learning, Game

เอกสารอ้างอิง

กาญจนา จัตุพันธ์ และกาญจนา สานุกูล. (2560). การศึกษารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ (Cooperative learning) ในชั้นเรียนวิชาระบบสุขภาพ กรณีศึกษานักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรสาธารณสุขชั้นสูง เทคนิคเภสัชกรรม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. เอกสารนำเสนอในที่ประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่22 มิถุนายน 2560 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. สงขลา : สืบค้นจาก http://www.hu.ac.th/conference/conference2017/proceedings/contents.html.
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี พ.ศ.2561-2580. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
จันทรา ด่านคงรักษ์. (2561). การพัฒนาการสอนทักษะการคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประพันธ์ศักดิ์ ตวงสุวรรณ. (2562). รูปแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. ปริญญานิพนธ์ ศษ.ด. (การศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์). กรุงเทพฯ :
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พนิดา ชาตยาภา. (2559, พฤษภาคม–สิงหาคม). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยโดยใช้แผนที่ทางความคิด. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 11(2), 307 - 321. สืบค้นจาก https://so06.tcithaijo.org/ index.php/vrurdihsjournal/article/view/65896/53878.
พงษ์เกษม สิงห์รุ่งเรือง. (2564, กรกฎาคม-ธันวาคม). ผลของการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านโคราชที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 8(2), 61-74. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/ index.php/rdirmu/article/ view/249801/169322.
ภัทราวรรณ จันทร์เนตร์. (2559). การพัฒนาการคิดสำหรับเด็กปฐมวัย. พิมพ์ครั้งที่ 1. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ลักขณา สริวัฒน์. (2558). การรู้คิด (Cognition). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
วิจารณ์ พานิช (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : ส. เจริญการพิมพ์.
วีณา ประชากูล. (2549). การวัดความคิดสร้างสรรค์ด้วยแบบทดสอบทีซีดี – ดีที (TCD - DT). มหาสารคาม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สิรินทร์ ลัดดากลม บุญเชิดชู. (2559) การพัฒนาความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบกำกับตนเอง. มหาวิทยาลัยศิลปากร :นครปฐม. DOI : https://dric.nrct.go.th/index.php?/Search/SearchDetail/288749
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2560). การคิดเชิงสร้างสรรค์. สืบค้นจาก https://www. ocsc.go.th/sites/default/files/document/ocsc-2017-eb13.pdf.
งานพัฒนาสมองเพื่อการเรียนรู้. (2558). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมอง สำหรับเด็กวัย 7-12 ปี. สืบค้นจาก http://www.okmd.or.th/upload/pdf/ BBL_7to12year_book.pdf.
อภินภัศ จิตรกร. (2560, มกราคม-เมษายน). การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมกันแบบผสมผสานที่ใช้เทคนิคการคิดแก้ปัญหาอนาคต เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบกราฟิกสำหรับสื่อการเรียนการสอนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 37(1), 307 - 321. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ sujthai/article/view/84122.
อารี พันธ์มณี. (2547). ฝึกให้คิดเป็น คิดให้สร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : ใยไหม.
. (2560). การคิดเชิงสร้างสรรค์. สืบค้นจาก https://www.ocsc.go.th/node/3934.
เอกนฤน บางท่าไม้. (2558). การวิจัยและพัฒนาระบบการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนเชิงสร้างสรรค์ที่ส่งผลต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.