ISSN: 1906-117X

วารสาร

องค์ประกอบการบริหารเพื่อสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันสู่มาตรฐานสากลของโรงเรียนเอกชน

Management Components to Create Competitiveness Towards International Standards of Private Schools
ขอบเขต: การบริหารการศึกษา

วรวลัญช์ ภัทรเรืองอนันต์

มหาวิทยาลัยทักษิณ

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ

มหาวิทยาลัยทักษิณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริหารเพื่อสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันสู่มาตรฐานสากลของโรงเรียนเอกชน ภายใต้กรอบของโรงเรียนมาตรฐานสากล มีคุณลักษณะ 3 ด้าน 12 ตัวชี้วัด เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงเนื้อหานำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปเป็นองค์ประกอบ ผลการวิจัยพบว่า ตามคุณลักษณะ 3 ด้าน 12 ตัวชี้วัด สามารถสังเคราะห์องค์ประกอบ ได้ดังนี้ ด้านที่ 1 คุณลักษณะด้านผู้เรียนมีศักยภาพเป็นพลโลก (World Citizen) ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัด มี 11 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์การเรียนผ่านการประเมินระดับชาติ อยู่ในระดับดีขึ้นไป 1.2) นักเรียนสามารถผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษา สูงขึ้นได้ 1.3) นักเรียนสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาจากสถาบันสอบวัดผลทางภาษา ได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50% 1.4) นักเรียนสามารถใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ในการสื่อสารได้ดี 1.5) นักเรียนสามารถสอบผ่านการวัดระดับความสามารถทางภาษาจากสถาบันภาษานานาชาติได้ 1.6) นักเรียนสามารถเสนอความเห็นจากสถานการณ์ภายในโรงเรียนและท้องถิ่นได้ 1.7) นักเรียนสามารถสร้างกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และจัดทำโครงงานที่เสนอแนวคิดเพื่อสาธารณะประโยชน์ร่วมกับนักเรียนนานาชาติได้ 1.8) นักเรียนสามารถประเมิน แสวงหา สังเคราะห์ และใช้ข้อมูลข่าวสารอย่างมีประสิทธิผล โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินการให้สำเร็จได้ 1.9) นักเรียนสามารถสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์เข้าแข่งขันในเวทีระดับชาติ และ นานาชาติได้ 1.10) นักเรียนมีความตระหนักรู้ในข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภาวการณ์ที่หลากหลายของโลก เข้าใจในความสัมพันธ์เชื่อมโยงขององค์ประกอบต่าง ๆ ในสังคมโลก 1.11) นักเรียนเข้าใจและตระหนักในความหลากหลายทางวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของนานาชาติ ด้านที่ 2 คุณลักษณะด้านการจัดทำหลักสูตรและการจัดการ เรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล (World- Class Standard) ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด มี 10 องค์ประกอบ ได้แก่ 2.1) โรงเรียนจัดหลักสูตรทางเลือกที่เทียบเคียงกับหลักสูตรมาตรฐานสากล 2.2) โรงเรียนจัดหลักสูตรด้านอาชีพ (ปวช. ในโรงเรียนมัธยมศึกษา) 2.3) โรงเรียนจัดให้มีรายวิชาทฤษฎีองค์ความรู้การเขียนความเรียงขั้นสูงและการสร้างโครงงาน 2.4) ครูด้านวิชาการผ่านการประเมินความเชี่ยวชาญเฉพาะทางระดับชาติ 2.5) ครูผู้สอนด้านอาชีพผ่านการประเมินความเชี่ยวชาญเฉพาะทางระดับชาติ 2.6) ครูมีผลงานวิจัย โครงงาน หนังสือ บทความ หรือเป็นวิทยากร 2.7) อัตราการเพิ่มของครูที่สามารถใช้ภาษาต่างประเทศในการสื่อสาร 2.8) ครูสามารถใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน 2.9) ครูเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนานาชาติ 2.10) โรงเรียนมีผลการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาอย่างน้อย ปีการศึกษาละ 1 เรื่อง ด้านที่ 3 คุณลักษณะด้านการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ (Quality System Management) ประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัด มี 12 องค์ประกอบ ได้แก่ 3.1) โรงเรียนจัดการศึกษาได้เทียบเคียงมาตรฐานสากล 3.2) ผู้บริหารผ่านเกณฑ์การประเมินที่เกี่ยวข้อง TQA 3.3) ผู้บริหารสามารถใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการ 3.4) ผู้บริหารสามารถใช้ภาษาต่างประเทศในการสื่อสาร 3.5) โรงเรียนบริหารจัดการตามขั้นตอนของ TQA 3.6) โรงเรียนมีการบริหารด้านบุคลากรอย่างมีอิสระและคล่องตัวในการกำหนดอัตรากำลัง สรรหา บรรจุ จัดจ้าง ส่งเสริมและพัฒนา 3.7) โรงเรียนมีการระดมทรัพยากรด้านต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความเป็นเลิศในการจัดการศึกษาโดยสามารถบริหารจัดการได้อย่างคล่องตัวตามสภาพความต้องการและจำเป็น 3.8) โรงเรียนที่มีห้องอิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดีย 3.9) โรงเรียนที่มีห้องทดลอง ห้องปฏิบัติการพร้อมอุปกรณ์ที่ทันสมัยเป็นไปตามเกณฑ์ 3.10) โรงเรียนที่มีห้องสมุด ศูนย์วิทยบริการ (Resource Center) ที่มีการบริการด้วยระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย 3.11) โรงเรียนมีเครือข่ายร่วมพัฒนาทั้งในระดับท้องถิ่นภูมิภาค ระดับประเทศและระหว่างประเทศ 3.12) ครู นักเรียนมีเครือข่ายเรียนรู้กับบุคคลอื่นทั้งระดับประเทศและระหว่างประเทศ ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการบริหารของโรงเรียนเอกชนมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ ส่งผลให้ความสามารถทางการแข่งขันของโรงเรียนเอกชนมีคุณภาพ และพัฒนาไปสู่จุดสูงสุดแห่งศักยภาพในทุกภูมิภาคของประเทศ

Abstract

This research aimed to study the components of the administration to create competitiveness towards international standards of private schools. It has 3 aspects, 12 indicators. Collect content-based data for analysis, synthesis, and summarization. The results of the research were found that according to 3 aspects of the 12 indicators, the composition could be synthesized as follows : Aspect 1: World Citizen potential of learner characteristics consists of 5 indicators with 11 elements: 1.1) The students had better academic achievement through the national assessment. 1.2) Students can qualify for admission to higher secondary education. 1.3) The language proficiency test students from the Language Proficiency Examination Institute scored not less than 50%. 1.4) Students can communicate well in Thai, English and other foreign languages. 1.5) Students can pass the language proficiency test from the International Language Institute. 1.6) Students are able to offer opinions on the situation within the school and local. 1.7) Students can create learning exchange activities and create projects that propose ideas for the public benefit with international students. 1.8) Students are able to assess, seek, synthesize and use information effectively by applying technology to a successful implementation. 1.9) Students can create useful new works and compete in national and international forums. 1.10) Students are aware of information about the diverse circumstances of the world, understand the interrelationships of various elements of the world society. 1.11) Students understand and realize the diversity of cultures and traditions of the world. Aspect 2: Curriculum preparation and teaching and learning management comparable to international standards (World- Class Standard) consisted of 3 indicators with 10 components: 2.1) The school provides alternative courses that are comparable to international standard curriculum. 2.2) The school organizes vocational courses (vocational certificate in secondary school). 2.3) The school provides courses, knowledge theory, advanced essay writing and project construction. 2.4) Academic teachers pass a national expert assessment of expertise. 2.5) Career teachers through a national specialization assessment. 2.6) Teachers have research results, projects, books, articles or lecturers. 2.7) Increasing rate of teachers who can use foreign languages for communication. 2.8) Teachers can use technology in teaching and learning. 2.9) Teachers participate in activities that organize international learning exchanges. 2.10) The school has at least one research result for educational management development per academic year. The third aspect of Quality System Management consisted of 4 indicators with 12 components: 3.1) The school provided education comparable to international standards. 3.2) Executives passed the relevant assessment criteria TQA. 3.3) Executives can use technology in management. 3.4) Executives can use foreign languages for communication. 3.5) The school is administered according to the TQA procedure. 3.6) The school has human resource management with freedom and flexibility in determining the recruiting, recruiting, recruiting, promotion and development rates. 3.7) The school has mobilized resources in various fields to develop excellence in education management, which can be managed flexibly according to the needs and needs. 3.8) School with electronic multimedia room. 3.9) Schools with laboratories, laboratories equipped with modern equipment meet the criteria. 3.10) schools with libraries Resource Center that offers services with modern technology systems. 3.11) The school has a network for development in local, regional National and international. 3.12) Teachers and students have a network to learn with other people both nationally and internationally. Therefore, it can be seen that the quality of the administration of the private schools is acceptable. As a result, the competitiveness of private schools has quality and develops to the highest potential in every region of the country.

คำสำคัญ

การบริหาร, สร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน, มาตรฐานสากล, โรงเรียนเอกชน

Keywords

ManagementComponents, CreatingCompetitiveness, InternationalStandards, PrivateSchool

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรง พิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาเอกชน พ.ศ. 2560–2564. สืบค้นจาก http:// www.sl.ac.th/ html_edu/cgi-bin/sl/main_php/print_news.php?id_news=30572
ประไพ ประดิษฐ์สุขถาวร. (2555). สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน. สืบค้นจาก http://taamkru.com/th
ราตรี ศรีไพวรรณ และ พฤทธ์ิ ศิริบรรณพิทักษ์. (2553). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน มาตรฐานสากล ระดับประถมศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 3(2), 182-194. ISSN22866183
สลิลรัตน์ พลอยประดับ. (2561). รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับเสริมสร้างศักยภาพทางการแข่งขันของ โรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาในเขตภาคตะวันออก. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัย บูรพา) สืบค้นจาก https://www.western.ac.th/westernnew/facultyofwestern/fac_page
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือแนวทางการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน มาตรฐานสากล. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.). (2562). ตารางผลการจัดอันดับความสามารถในการ แข่งขันของประเทศ 5 อันดับแรกและประเทศไทย ปี 2561-2562 โดย IMD. สืบค้นจาก https://www.nstda.or.th/th/nstda-knowledge/12907-imd-competitiveness-ranking
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด. สืบค้นจาก http://www.onec.go.th/th.php/page/category/
หิรัญ ประสารการ. (2553). การพัฒนาตัวบ่งชี้และยุทธศาสตร์ความเป็นสากลของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ).
Owens, R.G. (2007). Organizational behavior in education : Instructional leadership and school reform. 7thed. Boston : Allyn & Bacon. Retrieved from https://www.amazon.com/ Organizational-Behavior-Education-Instructional-Leadership/dp/0205321984