ISSN: 1906-117X

วารสาร

การทำงานเป็นทีมของครูในการดำเนินงานกลุ่มบริหารวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 สหวิทยาเขตเสรีไทย

Teachers’ teamwork in the operation of academic department under the Secondary Educational Area Office 2, Serithai Area Co-School Group.
ขอบเขต: การบริหารการศึกษา

ณัฐพล สีจาด

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

อุไร สุทธิแย้ม

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการทำงานเป็นทีมของครูในการดำเนินงานกลุ่มบริหารวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 สหวิทยาเขตเสรีไทย จำแนกตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูจำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และเมื่อพบความแตกต่าง จึงนำไปทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe) พบว่า 1) ความคิดเห็นของครูต่อการทำงานเป็นทีมในการดำเนินงานกลุ่มบริหารวิชาการ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการทำงานเป็นทีมในการดำเนินงานกลุ่มบริหารวิชาการ โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3) ผลการเปรียบเทียบครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการทำงานเป็นทีมในการดำเนินงานกลุ่มบริหารวิชาการ โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

This research has the objective for studies and compares with teachers’ opinions about teamwork in the operation of academic department be under the Secondary Educational Area Office 2, Serithai Area Co-School Group. Separate follow the educational levels and work experience. The samples that used in the research were 260 teachers by Simple Random Sampling. A tool that used in the research were questionnaire about 5 level values. The statistics that used in data analysis was percentage, mean and standard deviation (SD), t-test, and One – way ANOVA test, when the differences were found, a pairwise comparison was conducted with Scheffe's method. The result of research was as follow 1) Teachers’ opinions about teamwork in the operation of academic department both of overall and specific were at the high level. 2) The difference of educational background had no effect on the opinions about teamwork in the operation of academic department both of overall and specific. 3)The difference of work experience had effect on the opinions about teamwork in the operation of academic department both of overall and specific statistically significant differences at the .05 level. 2) The difference of educational background had no effect on the opinions about teamwork in the operation of academic department both of overall and specific. 3)The difference of work experience had effect on the opinions about teamwork in the operation of academic department both of overall and specific statistically significant differences at the .05 level.

คำสำคัญ

การทำงานเป็นทีม, การบริหารวิชาการ

Keywords

teamwork, Academic administration

เอกสารอ้างอิง

กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. (2550,
16 พฤกษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 124 ตอนที่ 24 ก. หน้า 29 – 36.
กมลนิตย์ วิลัยแลง. (2559). ประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา). สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc
กลุ่มสารสนเทศ สนผ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน: ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน สังกัด สพม.เขต 2 (กทม.). (2563). สืบค้นจาก https://data.bopp-obec.info/emis/school.php?Area_CODE=101702
ปิ่นทอง ศรีสวัสดิ์. (2560). การทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.) สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc
เพิ่มสุข อนันต์มั่งคั่ง. (2560). การศึกษาการทำงานเป็นทีมของครูโรงเรียนมารีวิทย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 116 ตอนที่ 74 ก. หน้า 13.
รุจิร์ ภู่สาระ และ กัลยมน อินทุสุต. (2558). การบริหารจัดการสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: มิตรภาพการพิมพ์และสติว
ดิโอ จำกัด.
สารินทร์ เอี่ยมครอง. (2561). แนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในจังหวัดชัยนาท สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์).
สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc
สุกัญญา จิตพลีชีพ. (2561). สมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช). สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc
สุวรรณา พงษ์ผ่องพูล. (2558). การทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี). สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc
อริศษรา อุ่มสิน. (2560). การศึกษาการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี).
สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc
อํานวย มีสมทรัพย์. (2553). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการทํางานเป็นทีมกับการ บริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา). สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc
อุณากรรณ์ สวนมะม่วง. (2553). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 1 และ เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา). สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc
Cohen, L., Minion, L., & Morrison, K. (2011). Research methods in education (7th ed). New York: Routledge.