ISSN: 1906-117X

วารสาร

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการวิเคราะห์อากาศพลศาสตร์ของรถฟอร์มูล่านักเรียนด้วยวิธีการจำลองการไหลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์

The Development of Training Program on The Aerodynamics Analysis of Formula Student using CFD
ขอบเขต: หลักสูตรการสอน

ชัยยศ ดำรงกิจโกศล

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมการวิเคราะห์อากาศพลศาสตร์ของรถ Formula Student ด้วยวิธีการจำลองการไหลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และเพื่อประเมินผลหลักสูตรการฝึกอบรมการวิเคราะห์อากาศพลศาสตร์ของรถ Formula Student ด้วยวิธีการจำลองการไหลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิศวกรรมยานยนต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ที่เข้าร่วมโครงการแข่งขัน Formula Student จำนวน 30 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม โดยมีขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมแบ่งเป็น 4 ระยะ 1) การศึกษาความต้องการฝึกอบรม 2) การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม ระยะที่ 3 การนำหลักสูตรฝึกอบรมไปใช้ ระยะที่4 การติดตามผลและประเมินผลการฝึกอบรม ในการวิเคราะห์ผลข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน ค่า KR-20 ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา และค่า t-test ผลการวิจัย พบว่า หลักสูตรการฝึกอบรมฝึกอบรมการวิเคราะห์อากาศพลศาสตร์ของรถ Formula Student ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย 4 หัวข้อ 1) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอากาศพลศาสตร์ของยานยนต์ 2) การกำหนดเงื่อนไขค่าขอบ (Boundary Condition) ในการวิเคราะห์ 3) การกำหนดขนาดโดเมน (Domain) และ 4) การวิเคราะห์ผลการจำลองการไหล การประเมินผลหลักสูตรฝึกอบรมพบว่า หลักสูตรฝึกอบรมมีประสิทธิภาพ 86.43/84.27 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 75/75 ผลสอบด้านความรู้หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมฝึกอบรมการวิเคราะห์อากาศพลศาสตร์ของรถ Formula Student ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย 4 หัวข้อ 1) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอากาศพลศาสตร์ของยานยนต์ 2) การกำหนดเงื่อนไขค่าขอบ (Boundary Condition) ในการวิเคราะห์ 3) การกำหนดขนาดโดเมน (Domain) และ 4)การวิเคราะห์ผลการจำลองการไหล ในด้านผลการประเมินผลการฝึกอบรมการวิเคราะห์อากาศพลศาสตร์ของรถ Formula Student ด้วยวิธีการจำลองการไหลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พบว่า ผลสัมฤทธิ์หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนร้อยละ 85.35 คะแนน ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 70 และผลการประเมินความคิดเห็นในการฝึกอบรมในภาพรวมมีความคิดเห็นในการฝึกอบรม ในระดับมากที่สุด

Abstract

These research objectives were to develop the aerodynamics of Formula Student analysis using CFD training program and to evaluate the aerodynamics of Formula Student analysis using CFD training program. The sample group was thirty automotive engineering students from KMUTNB joining TSAE Auto Challenge Formula Student derived from cluster random sampling. The training program development divided into four steps: 1) training needs assessment 2) training program development 3) training program implementation and 4) follow-up and training program evaluation. The percentage, mean, standard deviation, KR-20 Alpha coefficient and t-test were used for the data analysis. The results showed that the aerodynamics of Formula Student analysis using CFD training program composed of 4 topics 1) basic of aerodynamics 2) determination of boundary condition 3) determination of computational Domain and 4) the CFD results analysis. For the training program evaluation, the training program had the efficiency about 86.43/84.27 higher than set criterion at 75/75 moreover the posttest score higher than pre-test score at .01 level of significance.

คำสำคัญ

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม, การประเมินหลักสูตรฝึกอบรม, การจำลองการไหล

Keywords

Training Program Development, Training Program Evaluation, CFD

เอกสารอ้างอิง

กชกร พิเดช อารีย์ ปรีดีกุล และ ธนสาร เพ็งพุ่ม. (2560). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง คอมพิวเตอร์พื้นฐานเพื่อเสริมสร้าง ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. วารสารมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 11(2),84-93.
ทวีวัฒน์ รื่นรวย พิสิฐ เมธาภัทร และ ไพโรจน์ สถิรยากร. (2561). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมระบบประเมินคุณภาพและ พัฒนาการสอนด้วยตนเองโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนคร เหนือ,9(1), 152-160
ธันยบูรณ์ ถาวรวรรณ. (2560). การศึกษาแบบจำลองพฤติกรรมการไหลของอากาศผ่านทรงกระบอกตันแบบ 2 มิติ ด้วยเทคนิค พลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 12(1), 38-50.
พาณุวงศ์ คัมภิรารักษ์ และ แก้วตา โรหิตรัตนะ. (2561). อุตสาหกรรม 4.0 อุตสาหกรรมแห่งอนาคตของไทย. วารสารการจัดการ, 7(3), 52-64.
มยุรี เกื้อสกุล (2560). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติระหว่างวิธีสอนแบบเอสทีเอดี(STAD) กับแบบเอ็ม ไอเอพี(MIAP) รายวิชาการบัญชีการเงิน หลักสูตรปริญญาตรี มหาวิทยาลัยธนบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 11(26), 31-46.
สมาคมวิศวกรรมยานยนต์ไทย. (2563). แนวทางการแข่งขัน TSAE Formula Student 2020. เข้าถึงได้จาก
https://18718ed6-4346-477e-84cd- e795422e8c08.filesusr.com/ugd/333a3f_be11ec7b24534e0fbc26c
9b48b128378.pdf
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. เข้าถึงได้จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422
สุราษฎร์ พรมจันทร์. (2550). เอกสารประกอบการสอนวิชายุทธวิธีการสอนวิชาเทคนิค. เข้าถึงได้จาก http://www.fte.kmutnb.ac.th/km/Didactic%20for%20TechED.pdf
Arti Bansal and Dr. Jai Prakash Tripathi. (2017). A Literature Review on Training Need Analysis. OSR Journal of Business and Management (IOSR-JBM), 19(10), 50-56.