ISSN: 1906-117X

วารสาร

แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน เพื่อเตรียมความพร้อม ในการยกระดับผลการทดสอบ PISA ของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

Guidelines for improving the quality of education in mathematics science and reading to prepare for the upgrading of PISA test results of Bangkok Metropolitan Schools
ขอบเขต: การบริหารการศึกษา

ศุภลักษณ์ มีปาน

หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นในการยกระดับผลการทดสอบ PISA 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน 3) ศึกษาความเหมาะสม และความเป็นไปได้ ของแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน เพื่อเตรียมความพร้อมในการยกระดับผลการทดสอบ PISA ใช้วิธีการวิจัยโดยการสัมภาษณ์ สอบถามสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย และนักเรียน ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษาความเหมาะสม และความเป็นไปได้ ของแนวทางการพัฒนาคุณภาพ ด้วยการสอบถามผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีความต้องการด้านการเตรียมความพร้อมของครู ความพร้อมด้านสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด และความพร้อมด้านผู้บริหารสถานศึกษาตามลำดับ สำหรับความคิดเห็นของนักเรียน ต้องการเตรียมความพร้อมด้านนักเรียนและความพร้อมด้านสถานศึกษาตามลำดับ ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน ประกอบด้วย 4 แนวทาง คือ 1) แนวทางพัฒนาด้านผู้บริหารสถานศึกษา มี 6 ประเด็น 2) แนวทางการพัฒนาด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา มี 5 ประเด็น 3) แนวทางการพัฒนาด้านนักเรียน มี 4 ประเด็น 4) แนวทางการพัฒนาด้านสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด มี 6 ประเด็น ผลการศึกษาความเหมาะสม ค่าเฉลี่ยโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.54, SD. = 0.48) และความเป็นไปได้ ค่าเฉลี่ยโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.55, SD. = 0.48)

Abstract

Abstract The objectives of this research were to 1) study the current conditions and the need for improvement of the PISA test results 2) to study the guidelines for the development of educational quality in mathematics, science and reading 3) to study feasibility and possibility of the guidelines for the quality improvement of education, Mathematics, Science and Reading to prepare for the upgrading of PISA test results. Using interview research methods Inquire about current conditions and needs of school administrators Mathematics, Science, Thai teachers and students studying quality development guidelines from experts. Study suitability and possibility of the quality development approach by inquiring the school administrators thai language mathematics science teacher. The current condition in the overall is moderate. The needs are at the highest level. With the need for the preparation of teachers Readiness of educational institutions and agencies And the readiness of the school administrators respectively for student reviews Want to prepare students And the readiness of educational institutions, respectively. The results of the study The guidelines for the development of educational quality in mathematics, science and reading consisted of 4 approaches: 1) the development of school administrators with 6 issues; There were 5 issues for educational personnel. 3) Student development approach had 4 issues. 4) Educational institution development approach. And the agency has 6 issues. Overall average It was at the highest level ((X ) ̅= 4.54, SD. = 0.48) and a possible opinion. overall average was at the highest level (X ̅ = 4.55, SD. = 0.48)

คำสำคัญ

คำสำคัญ: การศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน, ผลการทดสอบ PISA, โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

Keywords

Keywords: Mathematics, Science and Reading Education, PISA Test Results, Bangkok Metropolitan Schools

เอกสารอ้างอิง

เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรูแกนกลาง กลุ่‹มสาระการเรียนรู้Œคณิตศาสตร์
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เกรียงยศ สุดลาภา. (2562). ขับเคลื่อนนโยบายด้านการศึกษาสู่การปฏิบิติ. สำนักประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563. จาก Available: https://www.innnews. co.th/social/news_393931/.
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. (2554). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
ขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
จันทรานี สงวนนาม. (2536). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีและเทคนิคการบริหาร. เอกสารประกอบการบรรยายหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ.
ชัยยนต์ เพาพาน. (2559, มกราคม-มิถุนายน). ผู้บริหารโรงเรียนยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. วารสารคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 1(1): 304-306.
ณัฐรฎา พวงธรรม. (2553). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร.
สำนักงานเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นงลักษณ์ วิรัชชัย; และสุวิมล ว่องวาณิช. (2542, กรกฎาคม – ธันวาคม). การสังเคราะห์งานวิจัยทางการศึกษาด้วยการวิเคราะห์อภิมานและการวิเคราะห์เนื้อหา. วิธีวิทยาการวิจัย, 12(2): 1-14.
นันทนา โมลีวงศ์. (2561, พฤษภาคม – สิงหาคม). การพัฒนามาตรฐาน ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ สำหรับการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนสาธิตสังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 6(2): 52-66.
นิตย์ โรจน์รัตนวาณิชย์. (2555). รายงานการศึกษาส่วนบุคคลแนวทางการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 3 จังหวัดปราจีนบุรี. สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา. สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ.
นิตยา วงศ์วีระพันธุ์. (2558). บทบาทของครูกับการจัดการการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2563. จาก https://www.scimath.org/article-science/item/9607-21-9607.
พระมหาสมบูรณ์ สุธมฺโม (2557, พฤษภาคม-สิงหาคม) บทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ. 1(1): 98-102.
พัชรี หอมรื่น; และยุภาดี ปณะราช. (2559, มกราคม-เมษายน). แนวทางการบริหารเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในกลุ่มโรงเรียนลานกระบือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1. วารสารการประชุมวิชาการระดับชาติ. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. 3(1): 19-31.
ระบิล หล้าภิล; และสุวรรณ หมื่นตาบุตร. (2561, มกราคม-มิถุนายน). แผนการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนบ้านโป่งแดง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน. วารสาร มมร. วิชาการล้านนา. 7(1): 56-65.
ล้วน สายยศ; และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์; และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2545). ระเบียบวิธีการวิจัย. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา; และคณะ. (2560: พฤษภาคม – สิงหาคม) การสังเคราะห์เปรียบเทียบนโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาของประเทศเวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย และประเทศไทย.Veridian E-Journal. Silpakorn University. ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ.10 (2): 2373-2391.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ). (2557). รายงานทีดีอาร์ไอ การจัดทำยุทธศาสตร์การปฎิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). ผลการประเมิน PISA 2018. กรุงเทพฯ: สสวท.
. (2561). สรุปผลการวิจัย PISA 2015. กรุงเทพฯ: สสวท.
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานผลการศึกษา การพัฒนามาตรฐานการศึกษา ของตางประเทศ. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.
สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2563). แผนปฏิบัติราชการ ประจำปี พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: วันไฟน์เดย์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2563 – 2565. สมุทรปราการ: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (2557). ชุดฝึกอบรมการยกระดับคุณภาพผู้เรียนสู่ความพร้อมในการประเมินระดับนานาชาติ (PISA). สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.
Creswell, J. W., & Plano Clark, V. L. (2018). Designing and conducting Mixed Methods Research. 3nd ed. Los Angeles.
Krejcie, R. V.; & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.
Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607-610.