ISSN: 1906-117X

วารสาร

ผลการจัดการเรียนรู้โดยเน้นกระบวนการกลุ่มร่วมกับการเขียนสะท้อนคิดเพื่อส่งเสริมความสุขในการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Effects of Group Process and Reflective Writing Teaching Approaches toward Promotion of Happiness in Learning and Mathematics Achievements among 11th Graders
ขอบเขต: คณิตศาสตร์เพื่อการศึกษา

อรนิภา ไทยแท้

นักวิชาการอิสระ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความสุขในการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยเน้นกระบวนการกลุ่มร่วมกับการเขียนสะท้อนคิด กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 44 คน โดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เก็บข้อมูลโดยให้นักเรียนทำแบบวัดความสุขในการเรียนรู้และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ พร้อมทั้งเขียนบันทึกสะท้อนคิดผ่านสื่อสังคมออนไลน์หลังสิ้นสุดการเรียนในแต่ละคาบ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การคำนวณค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละพัฒนาการ การวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยเน้นกระบวนการกลุ่มร่วมกับการเขียนสะท้อนคิด มีคะแนนความสุขในการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยเน้นกระบวนการกลุ่มร่วมกับการเขียนสะท้อนคิด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์และข้อมูลการเขียนสะท้อนคิดของนักเรียนบ่งชี้ว่านักเรียนเกิดความสุขในการเรียนรู้

Abstract

The purpose of this research is to compare the happiness average score and mathematics achievement among eleventh graders who group-work and reflective writing-based approach. The sample group of this research, selected through purposive sampling, is 44 eleventh graders in a large-sized secondary school under the Office of the Private Education Commission, during their second semester in the academic year 2019. The research data was collected through a learning happiness survey, a pre- and post-test on learning achievements and a self-reflective writing assignment on online social media to be completed at the end of each class. Regarding the data analysis, arithmetic means, percentage, standard deviations, growth score percentage, content analysis, and t-test. The findings reveal 1) the students taught mainly with group process and reflective writing approaches achieved 0.05 and 2 points higher in happiness in learning with statistical significance compared to prior teaching, 2) these students gained 0.05 higher point in learning achievement with statistical significance. In addition, a qualitative analysis drawn from interviews and reflective writing pieces has shown that the students were happy with learning.

คำสำคัญ

กระบวนการกลุ่ม, การเขียนสะท้อนคิด, ความสุขในการเรียนรู้

Keywords

Group Process, Reflective Writing, Happiness in Learning

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กัตตกมล พิศแลงาม. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสะท้อนคิดโดยใช้รูปแบบวงจรของกิ๊บส์ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาภาษา การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(2), 1-15.

คู่บุญ ศกุนตนาค. (2552). ผลของความสอดคล้องระหว่างแบบการเรียนกับแบบการสอนที่มีต่อความสุข ในการเรียนรู้ของนักเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุฬินฑิพา นพคุณ. (2561). การสะท้อนความคิดผ่านสมุดบันทึกภาพของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 14(3), 307-322.

ชนิดา จำปาอ่อน. (2562). การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชนิดา ทาระเนตร์. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องความน่าจะเป็นโดยการจัดการเรียนการสอนเน้นกระบวนการกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสา จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธารณ์ ทองงอก. (2014). การพัฒนาตัวบ่งชี้การเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 11(20), 1-17.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2540). กระบวนการกลุ่ม ทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

ปิยะวดี กิ่งมาลา. (2560). การพัฒนาบทเรียนเสริมคณิตศาสตร์พื้นฐาน รายวิชาแคลคูลัส 1 สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. E-Journal Silpakorn University, 10(2), 597-607.

พรภัทร สินดี. (2557). ผลการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเชิงวิธีการที่เน้นกระบวนการกลุ่มที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์และพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม เรื่องลำดับและอนุกรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รัชนีกร ทองสุขดี. (2545). การเขียนสะท้อนความคิด: ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้. ศึกษาศาสตร์สาร, 29(2), 45-51.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน.

วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์. (2560). ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมการเขียนบันทึกสะท้อนคิดตามแนวจิตตปัญญาศึกษา ในรายวิชาศิลปะการสอน. วารสารราชพฤกษ์, 15(2), 27-34.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และคณะ. (2555). คู่มือการวัดความสุขด้วยตนเอง HAPPINOMETER. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

สไบทิพย์ เชื้อเอี่ยม, สุพัตรา ไตรอุดมศรี และ ปรียสลิล ไชยวุฒิ. (2562). ผลการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีสะท้อนคิดต่อทักษะการปฏิบัติการพยาบาล และระดับความพึงพอใจของนักศึกษาในวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคทางการพยาบาล. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 27(2), 150-157.

สุจิตรา แก้วหนองแสง. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้การบวก การลบ การคูณทศนิยม และพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD. วารสารราชพฤกษ์, 14(2), 83-90.

สำราญ สิริภคมงคล. (2554). การพัฒนามาตรวัดความสุขในการเรียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุข. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสำนักพิมพ์วัฒนาพานิชจำกัด.

อมรรัตน์ บุบผโชติ. (2546). ผลการใช้บันทึกการเรียนรู้ในการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ที่มีต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิต สังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐในกรุงเทพมหานคร. ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาทิตยา สีหราช. (2561). การส่งเสริมความสุขในการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดด้วยการให้ข้อมูลย้อนกลับในวิชาเคมี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Adler, J. & Ronda, E (2015). A Framework for Describing Mathematics Discourse in Instruction and Interpreting Differences in Teaching. African Journal of Research in Mathematics, Science and Technology Education, 19(3), 237-254.

Gibbs, G. (1988). Learning by Doing: A guide to teaching and learning methods. Further Education Unit.

Rafi, I. & Setyaningrum, W. (2019). Learning mathematics from erroneous example in individual and collaborative setting: is it effective to facilitate students’ mathematical disposition?. Journal of Physics: Conference Series, 1320(1), 1-8.

Rowan, T, & Bourne, B. (2001). Thinking like mathematicians: Putting the NCTM standards into practice: 1879-1999. Journal of Business Venturing, 15(3), 174-256.

Storch, N. (2005). Collaborative writing: Product, process, and students’ reflections. Journal of Second Language Writing, 14, 153–173.

Tabbodi, M., Rahgozar, H., & Abadi, M.M. (2015). The Relationship between Happiness and Academic Achievements. European Online Journal of Natural and Social Sciences, 4, 241-246.

Wulandari S, C. (2016). Group Process Approach In Mathematics Learning. International Conference on Education (IECO) Proceeding, 1, 352-360.

Yang. (2009). Using blogs to enhance critical reflection and community of practice. Educational Technology & Society, 12(2), 11-21.