ISSN: 1906-117X

วารสาร

ทักษะการประกอบอาชีพที่สำคัญในโลกยุคใหม่ที่นักเรียนไทยควรได้รับการพัฒนา : การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น

IMPORTANT CAREER SKILLS IN THE MODERN AGE THAT THAI STUDENTS SHOULD BE ENHANCED: A NEEDS ANALYSIS
ขอบเขต: การงานอาชีพ

วัชรสินธุ์ เพ็งบุบผา

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ทักษะการประกอบอาชีพที่สำคัญในโลกยุคใหม่ตามมุมมองของผู้ประกอบการ และ 2) ประเมินความต้องการจำเป็นทักษะการประกอบอาชีพของนักเรียนที่ควรได้รับการพัฒนา วิธีดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 คือ การสัมภาษณ์ผู้ประกอบการจำนวน 3 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ทักษะการประกอบอาชีพที่สำคัญในโลกยุคใหม่ โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และ ระยะที่ 2 คือ การตอบแบบสอบถามของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีที่ 6 จำนวน 301 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพทักษะการประกอบอาชีพของนักเรียน โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์ดัชนีความสำคัญของลำดับความต้องการจำเป็น และ การวิเคราะห์เมทริกซ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า ทักษะการประสานงาน ทักษะการบริหารงาน ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการกระหายเรียนรู้ ทักษะการสื่อสารอย่างใส่ใจ ทักษะการคิดนวัตกรรม ทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ทักษะการคล่องตัว ทักษะการรู้ทันเทคโนโลยี ทักษะส่วนบุคคล และประสบการณ์ในอาชีพ เป็นทักษะการประกอบอาชีพที่สำคัญในโลกยุคใหม่ตามมุมมองของผู้ประกอบการ 2) ผลการประเมินความต้องการจำเป็นโดยการวิเคราะห์ค่าดัชนี PNImodified พบว่า รายการประเมินที่มีค่าสูงที่สุด คือ ประสบการณ์ในอาชีพ (.501) รองลงมา คือ ทักษะการคิดนวัตกรรม (.489) และ ทักษะการคล่องตัว (.462) ตามลำดับ 3) ผลการวิเคราะห์เมทริกซ์ พบว่า ประสบการณ์ในอาชีพ ทักษะการคิดนวัตกรรม ทักษะการคล่องตัว ทักษะการแก้ปัญหา และทักษะการบริหารงาน เป็นทักษะที่นักเรียนควรได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วนมากที่สุด

Abstract

This research aimed to 1) analyze important career skills in the modern age from an entrepreneur's perspective. 2) Assess the needs for enhancing career skills of students. There were two phases of the research method. 1) The samples were 3 entrepreneurs. The method of purposive sampling. The research instrument used interview about important career skills in the modern age. The data was analyzed by content analysis. 2) The samples were 301 students in grade 12 from high school in Chonburi. The method of sampling using in the research was Multi-Stage Stratified Random Sampling . The research instrument used for this study was a survey questionnaire about the career skills of students. The data were analyzed via descriptive statistics, setting priority in terms of needs using Modified Priority Needs Index and Metrix analysis. The findings of the study were as follow: 1) The content analysis found coordination skills, managerial skill, problem solving skill, learning maniac skills, mindful communication skills, innovative thinking skills, entrepreneurial skills, agility skill, technological skills, personal skills and career experience were the important skills in the modern age from an entrepreneur's perspective. 2) The result of the needs assessment from PNImodified average highest was the career experience (.501) followed by innovative thinking skill (.489) , and agility skill (.462) respectively. 3) The Matrix analysis found that career experience, innovative thinking skills, agility skill, problem solving skill and managerial skill were the skills that students need to improve urgently.

คำสำคัญ

การประเมินความต้องการจำเป็น, ทักษะการประกอบอาชีพ

Keywords

Needs assessment, Career skills

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กัญญภัทร จำปาทอง, อุทุมพร อินทจักร์ และ นลินรัตน์ รักกุศล. (2559). แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ของเยาวชนเรื่องทักษะอาชีพผ่านสื่อโทรทัศน์ ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 6(3), 69-79.
กัญญาณัฐ ปูนา, พูนชัย ยาวิราช และ ไพรภ รัตนชูวงศ์. (2562). ข้อเสนอเชิงนโยบายในการบริหารจัดการการศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาพื้นที่พิเศษจังหวัดเชียงราย. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 12(1), 123-134.
มาลัย ทองสิมา, วรรณวีร์ บุญคุ้ม และ นรินทร์ สังข์รักษา. (2562). การพัฒนายุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมด้านทักษะอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดนครปฐมเพื่อรองรับสังคมไทย 4.0. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล, 6(2), 19-48.
สรเดช เลิศวัฒนาวณิช. (2560). การพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพและคุณลักษณะในการประกอบอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี 2560-2579.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560ก). แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
Akkermans, J., Brenninkmeijer, V., Huibers, M., & Blonk, R. W. (2013). Competencies for the contemporary career: Development and preliminary validation of the Career Competencies Questionnaire. Journal of Career Development, 40(3), 245-267. https://doi.org/10.1177/0894845312467501.
Akkermans, J., Paradniké, K., Van der Heijden, B. I., & De Vos, A. (2018). The best of both worlds: the role of career adaptability and career competencies in students’ well-being and performance. Frontiers in psychology, 9, 1-13. https://doi.org/10.3389/fpsyg.2018.01678
Ali, A., & Marwan, H. (2019). Exploring Career Management Competencies in Work Based Learning (WBL) Implementation. Journal of Technical Education and Training, 11(1), 159–166.
Cruzvergara, C. Y., Testani, J. A., & Smith, K. K. (2018). Leadership competency expectations of employers and the expanding mission of career centers. New directions for student leadership, 2018(157), 27-37. https://doi.org/10.1002/yd.20277
Suhairom, N., Musta’amal, A. H., Amin, N. F. M., Kamin, Y., & Wahid, N. H. A. (2019). Quality culinary workforce competencies for sustainable career development among culinary professionals. International Journal of Hospitality Management, 81, 205-220. https://doi.org/10.1016/j.ijhm.2019.04.010
Welch, M. J., Abulhab, A., & Therriault, S. B. (2017). College and career readiness in Boston: Understanding and tracking competencies and indicators. American Institutes for Research, College and Career Readiness and Success Center.