ISSN: 1906-117X

วารสาร

การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง เครือข่ายภาคกลางตอนล่าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ในความรับผิดชอบของ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Assessment of The Project Development to Quality of Education and Local Development with Tertiary Institutions Lower Central Network Annual Fiscal Year 2019 B.E. Responsibilities of Region Bansomdejchaopraya Rajabhat University
ขอบเขต: การบริหารการศึกษา

จักรชัย ตระกูลโอสถ

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

มนตา ตุลย์เมธาการ

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และผลผลิต (Output) ของโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง เครือข่ายภาคกลางตอนล่าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ในความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยกลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย หัวหน้าโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการ และผู้เข้ารับการฝึกอบรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณ (Rating Scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยใช้แนวคิดการประเมิน IPO Model ประยุกต์ใช้กับรูปแบบการประเมินผลการฝึกอบรมตามแนวทางของเคิร์กแพทริค (The Kirkpatrick Approach) ดังนี้ การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input) กิจกรรมที่ 1 และกิจกรรมที่ 2 ผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะจำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด วัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินกิจกรรมมีความเพียงพอ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมมีความทันสมัย สะดวกต่อการใช้งาน สถานที่ในการจัดกิจกรรม มีขนาดเหมาะสม และความสะอาดเรียบร้อยของสถานที่จัดกิจกรรม การประเมินกระบวนการ (Process) กิจกรรมที่ 1 และกิจกรรมที่ 2 ผลการประเมินโดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะวิทยากรมีการเปิดโอกาสให้ซักถามและแสดงความคิดเห็นนำไปสู่ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเกี่ยวกับการสอน โดยการประเมินระดับความเหมาะสม ของการดำเนินงานของโครงการ ได้พิจารณาจากประเด็นสำคัญ คือ คณะทำงานสามารถประสานงานและอำนวยความสะดวกแก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ดี และคณะทำงานตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่ และการอบรมของวิทยากร วิทยากรตรงเวลา ใช้ภาษาเข้าใจง่าย และวิทยากรให้ความรู้ในการฝึกอบรมอย่างเต็มที่ การประเมินผลผลิต (Output) ด้านผลการเรียนรู้ ผลการประเมินหลังเข้าร่วมกิจกรรมที่ 1 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีผลการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม โดยเฉพาะหลังเข้าร่วมกิจกรรมผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด และอิงมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผังวัฏจักร (A Circle or Cyclical Map) และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผังก้างปลา (A Fishbone Map) ตามลำดับ โดยภาพรวมผลการประเมินผลผลิต (Output) อันนำไปสู่ด้านผลการเรียนรู้ (Learning) และกิจกรรมที่ 2 พบว่า หลังเข้าร่วมกิจกรรมผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีผลการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม โดยเฉพาะหลังเข้าร่วมกิจกรรม ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบ และพัฒนาสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การประเมินผลผลิต (Output) ด้านพฤติกรรม (Behavior) กิจกรรมที่ 1 และกิจกรรมที่ 2 ผลการประเมินหลังเข้าร่วมกิจกรรมผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีผลการประเมินด้านพฤติกรรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม โดยภาพรวม ผลการประเมินผลผลิต (Output) ด้านพฤติกรรม (Behavior) หลังเข้าร่วมกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า หลังเข้าร่วมกิจกรรมที่ 1 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีทักษะในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด และอิงมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และหลังเข้าร่วมกิจกรรมที่ 2 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีทักษะการสร้างสื่อมัลติมีเดียทางการศึกษาให้เหมาะสมกับสภาพการเรียนรู้ที่แท้จริงระดับความคิดเห็นเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด การประเมินผลผลิต (Output) ด้านผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่อองค์การ (Results) กิจกรรมที่ 1 และกิจกรรมที่ 2 พบว่า ผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนเพิ่มขึ้น ระดับความคิดเห็นเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนการเรียนรู้ ทางวิชาชีพทั้งสองกิจกรรมประสบความสำเร็จ ระดับความคิดเห็นเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The purpose of this research is to assess the input, process, and output of the quality of education and local development by tertiary institutions in the lower central region of Thailand for the annual Fiscal Year in 2019, in the responsibilities of Bansomdejchaopraya Rajabhat University. The samples of data collection have consisted of the project leader, project responsible person and trainees. The research tool that used in the research is a questionnaire with a rating scale of five levels. The statistical methods used in data analysis are mean and standard deviation. The results of this research are used the IPO Assessment Model Concept and applied to the Kirkpatrick Approach training evaluation model as follows: The assessment of input factors of activity 1 and activity 2 found that the evaluation results at the highest level, in particular, the number of trainees was in line with the specified goals, and the materials and equipment for conducting activities are enough. The equipment used in the event is up to date. The ease of use of the venue for the event was reasonable size and cleanliness of the event venue. The assessment of the process of activity 1 and activity 2 showed that the overall results were most appropriate, especially the trainers were open to asking questions and expressing opinions that leading to exchange the knowledge of the professional learning community about teaching. Also, the assessment of the level of suitability for the project's implementation considered an important point from the working group could coordinate and facilitate the convenience to the trainees is good. And the working group intends to work hard, also the trainers teaching on time combination with using a language that easy to understand and fully gave the knowledge to the training. The evaluation of output and learning outcomes revealed that after participating in activity 1: Trainees had higher learning results than before participating in the activity. Especially after participating in the activities, the trainees have knowledge and understanding in writing the management plan for developing thinking skills. And, according to the standard, the average opinion level was at the highest level, followed by the knowledge and understanding of the cycle diagram (A Circle or Cyclical Map) and the knowledge and understanding of the fishbone diagram (A Fishbone Map). The overall results of the output are leading to learning outcomes. And activity 2 found that after participating in the training activities, the learning results were higher than before participating. Especially after participating in activities, the trainees had the knowledge and understand about designing and developing computer-assisted instructional media. Behavior Output Evaluation, Activity 1 and Activity 2 Evaluation results after participating in the training participants had higher behavioral assessment results than before the activity. Behavior output (Behavior) after participating in the activity was at the highest level, when considered , it was found that after participating in Activity 1, the trainees had skills in writing a learning management plan. To develop thinking skills and according to the standard, the average opinion level was the highest.And after participating in the second activity, the trainees had skills in creating educational multimedia media to suit the actual learning conditions. The average opinion level was the highest. Evaluation of the results of the organization (Results) Activity 1 and Activity 2 were found that the results of the evaluation was at the highest level. When considered , it was found that the achievement of students increased. The average opinion level was the highest. And as a result of exchanging knowledge of the professional learning community, both activities were successful. The average opinion level was the highest.

คำสำคัญ

การประเมินโครงการ, คุณภาพการศึกษา, การพัฒนาท้องถิ่น

Keywords

Project evaluation, Educational quality, Local development

เอกสารอ้างอิง

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. (2562). รายงานผลโครงการยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ด้านการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ. สุวีริยาสาสน.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2557). เทคนิคการประเมินโครงการ. กรุงเทพฯ : บริษัท เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์ จำกัด.
พุฒิพัฒน์ ทวีวชิรพัฒน์ และสุมาลี สันติพลวุฒิ. (2557). การประเมินผลการดำเนินงานการพัฒนาผู้ประกอบการให้เกิดธุรกิจ/ผลิตภัณฑ์ใหม่ ในปีงบประมาณ 2556. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์;สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา;กระทรวงศึกษาธิการ;กระทรวงเกษตรและสหกรณ์;กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี;กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม;กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร;สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ;สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
วิไลพร จันทร์โพยม. (2558). การประเมินโครงการอบรม และพัฒนาครูเพื่อเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนรู้เท่าทันสื่อ และเทคโนโลยีสารสนเทศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).
สาครินทร์ จันทรมณี. (2562). การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน โรงเรียนบ้านพรุบัว อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช.วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.11 (กันยายน - ธันวาคม) : 165-175.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2556). รายงานผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ : สำนักประสานและส่งเสริมกิจการอุดมศึกษา.