ISSN: 1906-117X

วารสาร

การเข้าใจดิจิทัลกับการเรียนรู้ตลอดชีวิตสู่การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

Digital Literacy and lifelong learning to become a complete human being
ขอบเขต: เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

รศ.ดร.ศักดิ์คเรศ ประกอบผล

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

การเปลี่ยนแปลงทางด้านดิจิทัลเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ส่งผลทำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย การดำเนินชีวิตมีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ทำให้คนเราต้องเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อให้เกิดการเข้าใจดิจิทัล มีความสามารถหรือทักษะในการเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเหมาะสมเกิดประโยชน์และมีจริยธรรม การเรียนรู้ตลอดชีวิตนั้นคนเราต้องเป็นเจ้าของกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องให้ใครมาบังคับ จากการได้ยิน การสัมผัส การอ่าน การถาม ประสบการณ์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยี หรือจากการศึกษาค้นคว้า ตามความต้องการของตนเอง แนวทางการเรียนรู้ดิจิทัลอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตมีกระบวนการที่สำคัญ 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ตระหนักรู้ในปัญหา ความต้องการและความสนใจของตนเอง 2) กำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง 3) ลงมือปฏิบัติ โดยนำตนเองเข้าสู่การเรียนรู้ 4) ทบทวน พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและตลอดชีวิต 5) พัฒนาคุณค่าการเรียนรู้ ด้วยการถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น กระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวทำให้สามารถรู้เท่าทันดิจิทัลและดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข อันนำไปสู่ “การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์”

Abstract

Digital disruption happens so fast nowadays, resulting in the change of lifestyles. Digital technology has always gotten into the conduct of life. Thus, human beings need to have a lifelong learning in order to understand digital literacy, have the abilities or skills to understand and use digital technology appropriately, beneficially, and ethically. Human beings are the owners of their own lifelong learning processes. We can learn without being compelled, from listening, feeling, reading, asking, experience, exchanging knowledge, using technology, or researching according to their own needs. There are 5 key processes of lifelong digital literacy; 1) Realising our own problems, needs, and interests 2) Setting goals of learning and self-developing 3) Taking action by getting ourselves into learning. 4) Lifelong revising and developing ourselves continuously 5) Developing learning value by sharing and exchanging experience with others. The learning processes resulting in being aware of the digital technology and living happily in the society, leading to “becoming a complete human being”.

คำสำคัญ

การเข้าใจดิจิทัล การเรียนรู้ตลอดชีวิต การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

Keywords

Digital Literacy, Lifelong Learning, Becoming a Complete Human Being

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). สรุปผลการสำรวจข้อมูลสถานภาพการรู้เท่าทันสื่อและ สารสนเทศของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ.
กรุงเทพธุรกิจ. (2563). “ดิจิทัลดิสรัปชั่น” ทำลายภูมิคุ้มกันของประเทศ. สืบค้นจาก
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/882425
นิตยา วงศ์ใหญ่. (2560). แนวทางการพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของดิจิทัลเนทีฟ. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2), 1630-1642.
ศักดิ์คเรศ ประกอบผล. การวิเคราะห์ผู้เรียน: ลีลาการเรียนรู้. วารสารครุศาสตร์สาร, 14(2), 1-14.
สำนักงานข้าราชการพลเรือน. (2560). ทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยน
ภาครัฐเป็นรัฐบาลดิจิทัล. สืบค้นจาก https://www.ocsc.go.th/
sites/default/files/attachment/circular/w6-2561-attachment_0.pdf
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542.
กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟิค จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). หลักสูตรการเข้าใจดิจิทัลสำหรับ
พลเมืองไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2561). การเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต (A Lifelong Learner). สืบค้นจาก
https://www.trueplookpanya.com/blog/content/65649/-teaarttea-teaart-
อนุชา โสมาบุตร. (2559). 8 Digital Citizenship: 8 คุณลักษณะของการเป็นพลเมืองดิจิทัล.
สืบค้นจาก https://teacherweekly.wordpress.com/
Mission to the Moon. (2019). ทำยังไงให้เราสามารถเป็นคนที่เรียนรู้ได้ตลอดชีวิต. สืบค้นจาก
https://missiontothemoon.co/how-we-can-become-lifelong-learning/
Nicetomeetyou. (2018). ตัดต่อวิดีโอง่ายๆด้วยมือถือ แอพKinemaster |Nicetomeetyou.
สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=JPltrJKC9D0
Praornpit Katchwattana. (2019). 8 ทักษะจำเป็น เพื่อก้าวสู่ ‘ความเป็นพลเมืองดิจิทัล’ (Digital Citizenship) &
คนของศตวรรษที่ 21 อย่างภาคภูมิ. สืบค้นจาก https://www.salika.co/2019/04/03/8-skills-for-
digital-citizenship/
Udemy. (2019). ตัดต่อวีดีโอสวยๆด้วย โทรศัพท์มือถือ. สืบค้นจาก https://www.udemy.com/course/easyvideo/
UNESCO. (2018). A Global Framework of Reference on Digital Literacy Skills for Indicator 4.4.2.
Retrieved from http://uis.unesco.org/sites/default/files/documents/ip51-global- framework-reference-digital-literacy-skills-2018-en.pdf