ISSN: 1906-117X

วารสาร

ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำแบบกระจายอำนาจกับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร

The Relationship of Distributed Leadership with existent Professional Learning Community (PLC) in the small size school for Samutsakhon Primary Educational Service Area Office
ขอบเขต: การบริหารการศึกษา

พัชรา เดชโฮม

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำแบบกระจายอำนาจในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 2) เพื่อศึกษาชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำแบบกระจายอำนาจกับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 132 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นแบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำแบบกระจายอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร อยู่ในระดับมากโดยภาพรวมและรายด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยความคิดเห็นจากมากไปหาน้อย คือ ด้านวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีม ด้านวิสัยทัศน์ร่วม และด้านการปฏิบัติภาวะผู้นำ 2) การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร อยู่ในระดับมากโดยภาพรวมและรายด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านทีมร่วมแรงร่วมใจ ด้านวิสัยทัศน์ร่วม ด้านการเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ และด้านโครงสร้างสนับสนุน 3) ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำแบบกระจายอำนาจกับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Abstract

The purposes of this research were to 1) study distributed leadership in small size schools. Under the Samut Sakhon Primary Educational Service Area Office. 2) study the professional learning community in small size schools under the Office of Samut Sakhon Primary Educational Service Area Office and 3) Study the relationship between distributed leadership and professional learning community in small size schools under the Samut Sakhon Primary Educational Service Area Office. The sample used in this study was 132 practical teachers from the small size schools for Samut Sakhon Primary Educational Service Area Office deriving from simple random sampling. The research instrument was a 5-rating scale questionnaire. The statistics for data analysis were comprised of frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. The result findings were 1) The distributed Leadership in the small size school for Samut Sakhon Primary Educational Service Area Office was found to be at a high level both as a whole and in each particular aspect were considered, teamwork culture, shared vision and leadership practice 2) The Professional Learning Community (PLC) in the small size school for Samut Sakhon Primary Educational Service Area Office was found to be at a high level both as a whole and in each particular aspect were considered, Collaborative Teamwork, shared vision, Professional learning and development and Supportive structure 3)The Relationship of Distributed Leadership with existent Professional Learning Community (PLC) in the small size school for Samut Sakhon Primary Educational Service Area Office was totally average, correlated with a statistical significance level .01.

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำแบบกระจายอำนาจ ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ โรงเรียนขนาดเล็ก

Keywords

Distributed Leadership Professional Learning Community (PLC) Small Size School

เอกสารอ้างอิง

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : เทพเนรมิตรการพิมพ์.
ณัฐิกา นครสูงเนิน. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับการเป็นชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. ปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ณัลทวัฒน์ พิมพ์สกุล. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารถานศึกษา และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารโณงเยนบ้านบึงตะกู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
ดลนภา วงษ์สิริ. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้กับประสิทธิภาพการ สอนของครูในโรงเรียน สังกัดเทศบาลขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
ธันยพร บุญรักษา (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเลย.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
ธานินทร์ ศิลป์จารู. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 17. นนทบุรี : เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
นิรันดร์ สุธีนิรันดร์. (2561). แนวทางการส่งเสริมการบริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในศตวรรษที่ 21. ครุศาสตร์สาร. 12(1). 147-171.
พัชรา เดชโฮม. (2562). การมีส่วนร่วมของของชุมชนในการนำนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ไปสู่การปฏิบัติของโรงเรียนนำร่องในเขตธนบุรี. ครุศาสตร์สาร. 13(1). 133-148.
พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2561). การวิจัยทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
ร้อยขวัญพุทธ มุ่งมาจน. (2555). การบูรณาการรูปแบบองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน ราชธานีอโศก จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเสนอรูปแบบใหม่ของชุมชนแห่งการเรียนรู้. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนบูรณาการศาสตร์ คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
รัตนะ บัวสนธ์ และคณะ. (2551). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วรลักษณ์ ชูกำเนิด และเอกรินทร์ สังข์ทอง. (2557). โรงเรียนแห่งชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู เพื่อการพัฒนาวิชาชีพครูที่เน้นผู้เรียนเป้นหัวใจสำคัญ. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 25(1). 93-102.
วิจารณ์ พานิช. (2554). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาตาพลับลิเคชั่นจํากัด.
ศุภกานต ประเสริฐรัตนะ. (2555). โมเดลสมการโครงสรางภาวะผูนําแบบกระจายอํานาจของผูบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สมยศ นาวีการ. (2546). ทฤษฎีองค์การ. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2546). ภาวะผู้นำ : ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Bruggencate, G. T. et al. (2012). Modeling the Influence of School Leaders on Student Achievement : How Can School Leaders Make a Difference?. Educational Administration Quarterly. 48: 699.
Elmore, R. (2000). Building a new structure for school leadership. Washington DC: The Albert Shanker Institute.
Evers, C. W., and Lakomski, G. (2000). Doing Educational Administration. Oxford : Pergamon.
Fullan, M. (2001). Leading in a Culture of Change. San Francisco, CA: Jossey-Bass.
Hord, S. M. (1997). Professional learning communities: Communities of continuous inquiry and improvement. Austin, TX: Southwest Educational Development Laboratory.
Leithwood, K., Jantzi, D., Earl, L., Watson, N., Levin, B., & Fullan, M. (2004). Strategic leadership for large-scale reform: The case of England’s national literacy and numeracy strategies. Journal of School Leadership and Management. 24(1): 57-80.
Mulford, B. and H. Silins. 2003. “Leadership for organisational learning and improved student outcomes -What do we know?.” Cambridge Journal of Education, 33(2): 175-195.
Raelin, J. D. (2008). Resistance to change. Germany : VDM Verlag.
Speck, M. (1999). The principalship: building a learning community. Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.
Spillane,J.P..(2006) “Investigating School Leadership Practice: A Distributed Perspective.” Educational Research. 30:3 (April) :23-28
Witziers, B., R. J Bosker. and M. L. Kruger. (2003). “Educational leadership and student achievement: The elusive search for an association.” Educational Administration Quarterly. 39(3): 398 –425.
Yukl. G. (1989). Leadership in Organizations. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
_______. (2002). Leadership in Organizations. Upper Saddle River: Prentice Hall.(102): 34-39.