ISSN: 1906-117X

วารสาร

การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ E-POR เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย

Development of The E-POR Learning Experience Model to Develop the Social Skills of Early Childhood
ขอบเขต: หลักสูตรการสอน

ปุญชรัสมิ์ ไชยชนะ

โรงเรียนเทศบาลวัดดอนไก่ดี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ E-POR เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ E-POR และ 3) เพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจของครูผู้สอนที่มีต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ E-POR วิธีดำเนินการวิจัยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา(Research and Development) ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ E-POR เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.48, S.D. = 0.50) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ E การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (Environment) P การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (Play) O การทำตามจุดประสงค์ (Objective) และ R ผลจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (Results) 2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนทักษะทางสังคมหลังจัดประสบการณ์เรียนรู้ E-POR สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ ทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความรู้ความเข้าใจของครูผู้สอนที่มีต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ E-POR อยู่ในระดับมาก ( = 4.50, S.D. = 0.56)

Abstract

This research has the objective: 1) To develop the E-POR learning experience model to develop the social skills of early childhood. 2) To study the results of use the E-POR learning experience model. 3) To assess teachers' cognition towards the E-POR learning experience model. Research method use research and development processes. The research results were found that: 1) Development the E-POR learning experience model to develop the social skills of early childhood is suitable at the high level ( = 4.48, S.D. = 0.50). It consists of 4 steps: E - Organizing the learning environment (Environment), P - Play to learn (Play), O - Fulfilment of Objective (Objective), and R - Results from learning activities (Results). 2) The experimental group students had higher social skills scores after hosting the E-POR learning experience than before the experience by statistically significant level of .05. 3) Teachers' cognition towards the E-POR learning experience model at the high level ( = 4.50, S.D. = 0.56).

คำสำคัญ

คำสำคัญ: รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ E-POR พัฒนาทักษะทางสังคม เด็กปฐมวัย

Keywords

Keywords: The E-POR Learning Experience Model, Develop the social skills, and Early Childhood

เอกสารอ้างอิง

กรณิศ ทองสอาด. (2553). เด็กปฐมวัยกับการใช้สังคมเป็นสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2560. จาก :http://nakhonnayok.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2015/11/nit.pdf
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การเลี้ยงดูเด็กก่อนวัยเรียน 3-5 ขวบ. กรุงเทพฯ: โชติสุขการพิมพ์.
พัชรี ผลโยธิน. (2551). การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านอารมณ์จิตใจและสังคมในประมวลสาระชุดวิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย. หน่วยที่ 11.บัณฑิตศึกษาสาขาวิชาศึกษาศาสตร์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2558).วิธีวิจัยทางการศึกษา. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2552). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับนักเรียนปฐมวัย. ปริญญาปรัชญาดุษฎี (หลักสูตรและการสอน). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมชัย วงษ์นายะ. (2556). การวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กำแพงเพชร : มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). แนวทางการนำมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2555). พัฒนาการเขียนของเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Bandura, A (1968). Social foundation of thought and action: A social cognitive theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice- Hall, Inc.
Erikson, E. H. (1968). Identity: Youth and Crisis. New York: Norton & Company.
Neayc. (2009). NAEYC Standards for Early Childhood Professional Preparation. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2560. จาก https://www.naeyc.org/sites/default/files/globally-shared/
downloads/PDFs/resources/position-statements/2009%20Professional%20Prep%20
stdsRevised%204_12.pdf