ISSN: 1906-117X

วารสาร

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ

The Development Learning Achievement in Chinese Subject Using the Cooperative Learning
ขอบเขต: ภาษาและการสื่อสารเพื่อการศึกษา

ยุภาพร นอกเมือง

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

พรพิมล แวงกลาง

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีนของนักเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ภาษาจีนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ของโรงเรียนอุดมวิทยา จังหวัดปทุมธานี จำนวนทั้งสิ้น 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาจีนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และค่าที ผลการวิจัย พบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีนของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ มีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ อยู่ในระดับมาก

Abstract

Abstract The purpose of this research is 1) to development about the student’s achievement in Chinese Subject by using the Cooperative Learning 2) to study the student’s satisfaction of Chinese teaching method by using the "collaboration" model. The tools which used in this research were 25 students’ grade 1/1 from Udomvittaya school of academic year 2562. The research tools were used Chinese lesson plan by using the Cooperative Learning, the achievement in Chinese test and the questionnaires of students to study Chinese Subject by using the Cooperative Learning. The descriptive statistics used percentage and Standard Deviation (S.D.) test for dependent samples. It was found that the scores of student’s achievements in Chinese Subject post- test it higher than pre-learned .05 And the assessment result of "Cooperate" after learning to learn in Chinese subjects by using the "cooperate together" model. It was found that student’s level of satisfaction was high.

คำสำคัญ

พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีน, การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ

Keywords

Keywords: The Development of Chinese Learning Achievement, the Cooperative Learning

เอกสารอ้างอิง

เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กาญจนา จัตุพันธ์ และ กาญจนา สานุกูล. (2560). การศึกษารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ (Cooperative learning) ในชั้นเรียนวิชาระบบสุขภาพ กรณีศึกษา นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรสาธารณสุขชั้นสูงเทคนิคเภสัชกรรม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น. (รายงานผลการวิจัย). การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8. ปีที่ 8, 524-533.*
นภาลักษณ์ ตั้งอรุณศิลป์. (2560). การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนวิชาภาษาจีนขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาการจำอักษรจีนโดยใช้เทคนิคมอร์ฟฟิ่งร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ (มหาวิทยาลัยบูรพา), 28(1), 85-97.*
เบญจวรรณ กี่สุขพันธ์. (2552). หลักสูตรกับการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ปราณี กองจินดา. (2549). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และทักษะการ คิดเลขในใจของนักเรียนที่ได้รับการสอนตามรูปแบบซิปปาโดยใช้แบบฝึกหัดที่เน้นทักษะการคิดเลขในใจกับนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้คู่มือครู. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
พิจิตรา บุญล้อม. (2559). การศึกษาการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เรื่องมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจและแบบปกติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ. วารสารออนไลน์บัณฑิตศึกษา, กรุงเทพฯ (หัวหมาก), 2559, 217.
พิมพันธ์ เตชะคุปต์. (2548). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป
แบเนจเม็นท์.
ภูเทพ ประภากร. (2561). การพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาจีนกลาง โดยใช้กิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือในชั้นเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
เมชฌ สอดส่องกฤษ. (2553). ปัญหาการเรียนการสอนภาษาจีนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. สืบค้นจาก https://metchs.blogspot.com/2010/03/blog-post_9189.html.
สมพร เชื้อพันธ์. (2547). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่3 โดยใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองกับการจัดการเรียนการสอนตามปกติ.วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและการสอน).พระนครศรีอยุธยา : บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัพระนครศรีอยุธยา. ถ่ายเอกสาร.
Spenser Kagan. (1994). รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ (Cooperative Learning). ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต. สืบค้นจาก https://isdc.rsu.ac.th/weblog/21.