ISSN: 1906-117X

วารสาร

แนวทางการจัดการเรียนการสอนศิลปะปฏิบัติออนไลน์ในสถานการณ์ฉุกเฉิน: กรณีศึกษาสถานการณ์โควิด 19

Instructional Art Practical Online Classroom Strategy in Accidental Case Case Study: COVID-19
ขอบเขต: การบริหารการศึกษา

สริตา เจือศรีกุล

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อำไพ ตีรณสาร

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ธนวรรณ เจริญภัทราวุฒิ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณัฐพล ศรีใจ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มรุต มากขาว

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วนาลี ชาฌรังศรี

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุภาพรรณ วงศ์ศักดิ์ศิริกุล

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุภิญญา สมทา

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อริสรา วิโรจน์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้ทั่วโลกต้องใช้มาตรการเพิ่มระยะห่างทางสังคม ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสถานศึกษาที่ต้องปิดที่ทำการชั่วคราว การเรียนการสอนแบบออนไลน์ถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่นำมาใช้ได้ในข้อจำกัดดังกล่าว แต่การสอนออนไลน์ในรายวิชาศิลปะปฏิบัตินั้นมีข้อจำกัดหลายด้าน เช่น ความพร้อมของเครื่องมือ อุปกรณ์การปฏิบัติงาน และสถานที่ในการปฏิบัติงาน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนศิลปะปฏิบัติออนไลน์ในสถานการณ์โควิด 19 ของสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแนวทางการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย อาจารย์ผู้สอนรายวิชาศิลปะปฏิบัติระดับปริญญาบัณฑิตจำนวน 7 ท่าน และนิสิตที่ลงทะเบียนในรายวิชา จำนวน 14 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ในการจัดการเรียนการสอน มีการใช้แอปพลิเคชันในการสื่อสารและใช้เป็นสื่อการสอน มีการส่งสื่อการเรียนรู้และเนื้อหาเพื่อให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเอง มีการมอบหมายงาน ให้คำปรึกษา วิจารณ์งาน รวมถึงการประเมินผลผ่านช่องทางออนไลน์ โดยมีความยืดหยุ่นทั้งด้านเวลา เนื้อหา งานที่มอบหมาย และการประเมินผล 2. แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์ ประกอบด้วย การวางแผนรับมือปัญหาเฉพาะหน้า การเรียนรู้วิธีการสอนโดยใช้แอปพลิเคชั่น การปรับการเรียนการสอนและการวัดประเมินผลให้ยืดหยุ่นเหมาะสมกับสถานการณ์ โดยคำนึงถึงผู้เรียนเป็นหลัก การจัดการสื่อการสอนให้น่าสนใจ และการพัฒนาทักษะสื่อสารออนไลน์

Abstract

Due to the widespread of airborne Coronavirus (the COVID-19 pandemic), the social distancing measure has been enforced worldwide. This situation affects the whole social system in Thailand, especially the educational institutes since they were closed temporarily by the government’s order. Online education has been employed during this time to avoid interruption of classes as well as to prevent physical contact. However, teaching through the online platform can be inconvenient especially for art-related subjects, which contain both theoretical and practical lessons. Even though theoretical lessons can be delivered smoothly through an online platform, teaching practical lessons online is extremely challenging due to various limitations such as lack of art supplies and appropriate workspace. The research about online art education had been conducted with an attempt to improve the online art education of Chulalongkorn University. The data were gathered through interviewing 7 professors and 14 students who experienced online art education in the second semester of 2019. The researchers have found that learning through an application that involves bidirectional communication and sharing class materials to students online allows teachers to manage the class with flexibility in terms of time, contents, assignments, and evaluation. Whereas students are demanded to self-study, complete assignments on time, and actively seek for professor’s advice and critics. In conclusion, to improve online art education, the instructors should prioritize students’ learning experiences by planning the syllabus carefully regarding all possible issues and familiarizing their selves with the application platform for teaching online. In addition, the syllabus and courses’ evaluation should be actively adjusted in response to constantly changing situations. Lastly, making appealing materials and improving online communication skills can also contribute to better online art education.

คำสำคัญ

ศิลปะปฏิบัติ , การสอนออนไลน์ , สถานการณ์โควิด 19 , ศิลปศึกษา

Keywords

Art Practical, Online teaching, COVID-19 , Art Education

เอกสารอ้างอิง

กาญจนา วัฒนายุ. (2544) การวิจัยเพื่อการเรียนการสอน: นครปฐม: สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา. กกกกกกกระทรวงศึกษาธิการ.
จันตรี คุปตะวาทิน. (2550). “หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ (2)” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการพัฒนากกกกกกหลักสูตรและสื่อการสอน หน่วยที่ 4 หน้า 16-20 นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศึกษาศาสตร์.
ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพพิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประศักดิ์ หอมสนิท, อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง, ดิเรก ธีระภูธร. (2020). การกำกับตนเองในการเรียนออนไลน์.
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต Volume 10, Issue 1, 2020, pp.106-118. สืบค้นจาก https://tci-thailand.org/wp-content/themes/magazine-style/tci_search/article.html?b3 BlbkFydGljbGUmaWQ9 NTcyMDA1
วิทยาลัยช่างศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (ม.ป.ป.). กระบวนการสอนศิลปะปฏิบัติเบื้องต้น.สืบค้นจาก http://www.bpi.ac.th/subsite/cfa/Teaching%20Art.pdf
Cohen, A. (2013). In Situ Vision: The Student Experience of Collaborative Learning in a Virtual Drawing Class. Submitted to the Ph.D. in Leadership and Change Program of Antioch University in partial fulfillment of the requirements for the degree of Doctor of Philosophy. Retrieved from https://aura.antioch.edu/cgi/viewcontent. cgi?article=1014&context=etds .
Dancewicz, K. (2020, April17). Can you teach art online. Retrieved from https://www.artnews.com/art-in-america/features/teaching-art-online-covid-19-professors-strategies-1202684147/ .
Flaherty, C. (2020, April14). Teaching lab sciences and the fine arts during COVID-19. Retrieved from https://www.insidehighered.com/news/2020/04/14/teaching-lab-sciences-and-fine-arts-during-covid-19.
Juan Carlos Castro. (2012). Learning and Teaching Art Through Social Media. Concordia University Studies in Art Education. A Journal of Issues and Research, 53(2), 152-169, DOI: 10.1080/00393541.2012.11518859
Luttrell, A. (2020, April21). Studio art faculty come up with creative approaches to virtual teaching. Retrieved from https://clarknow.clarku.edu/2020/04/21/studio-art-faculty-come-up-with-creative-approaches-to-virtual-teaching/.
Pomerantz, K. (2020, March17). Teaching Art Online Under COVID-19. Retrieved from https://hyperallergic.com/547986/teaching-art-online-under-covid-19/.
Schoech, D., & Helton, D. (2002). Qualitative and quantitative analysis of a course
taught via classroom and internet chatroom. Qualitative Social Work, 1(1), 111-124.