ISSN: 1906-117X

วารสาร

การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาครูโดยใช้กรณีตัวอย่างผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู

The Development of Student teachers’ Critical Thinking Skill Using Case Based Learning and Professional Learning Community
ขอบเขต: หลักสูตรการสอน

ปรณัฐ กิจรุ่งเรื่อง

มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาครูโดยใช้กรณีตัวอย่างผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กรณีตัวอย่างผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู 2) พัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาครูโดยใช้กรณีตัวอย่างผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาครูที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กรณีตัวอย่างผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือนักศึกษาครูจำนวน 19 คนในโรงเรียนที่เป็นแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูระดับประถมศึกษา ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประกอบด้วย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร (ปฐมวัยและประถมศึกษา) โรงเรียนอนุบาลนครปฐม โรงเรียนเทศบาล 1 โรงเรียนเทศบาล 3 และโรงเรียนเทศบาล 4 ) ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กรณีตัวอย่างผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู มีกระบวนการคือ การจัดกลุ่มเพื่อแบ่งปันภาวะผู้นำ การเสนอกรณีตัวอย่าง การวิเคราะห์ปัญหาความต้องการและความจำเป็น การสะท้อนความคิดตามหลักการและเหตุผล และการตัดสินใจใจนำแนวความคิดไปสู่การปฏิบัติ 2) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาครูโดยใช้กรณีตัวอย่างผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู พบว่า ก่อนและหลังการทดลองนักศึกษาครูมีความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักศึกษาครูมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กรณีตัวอย่างผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครูในภาพรวมระดับมากที่สุด

Abstract

The purposes of this research were to 1) Develop Teaching Approach using case based learning and Professional Learning Community. 2) Enhancing student teachers’ critical thinking and 3) Study the satisfaction of the student teachers toward learning by using Case Based Learning and Professional Learning Community Approach. The purposive sampling subjects were student teachers in Elementary Education Program, Faculty of Education in Silpakorn University. The research instruments were test, evaluation form, questionnaire, record form and focus group items. Statistical analysis were mean, percentage, standard deviation, dependent t-test and content analysis. The research results were:

คำสำคัญ

ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ, กรณีตัวอย่าง, ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู, นักศึกษาครู

Keywords

Critical Thinking Skill, Case Based Learning, Professional Learning Community, Student teacher

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไข
เพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎหมายที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติ
การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและ
พัสดุภัณฑ์.
__________. (2546). พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546.
กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
__________. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 1.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม. (2552). เอกสารประกอบการสอน สถิติเพื่อการวิจัยทางการศึกษา
(Statistics for Educational Research). นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร
วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
ทิศนา แขมมณี และคณะ(2541)“การเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด”ในสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาแห่งชาติ.การปฏิรูปการเรียนรู้ตามแนวคิด 5 ทฤษฎี. กรุงเทพฯ : ไอเดียสแควร์,
_________(2541)“การเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด” ในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
แห่งชาติ. การเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ไอเดียสแควร์,
_________(2544) วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ : เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมนเนจเม้นท์
_________(2545) กลุ่มสัมพันธ์เพื่อการทำงานและการจัดการเรียนการสอน .กรุงเทพฯ : นิชิน
แอดเวอร์ไทซิ่ง กรู๊ฟ,
วัชรา เล่าเรียนดี(2549) เทคนิคและยุทธวิธีพัฒนาการคิด การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.
นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร
_________(2552)รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 4.
นครปฐม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2543). ข้อเสนอเชิงนโยบายการปฏิรูปวิชาชีพครูตามพระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิชสำราญราษฎร์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2545) แผนการศึกษาแห่งชาติ (2545 – 2559).
กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (2549) มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การ
พิจารณาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบที่ 2
(พ.ศ. 2549 – 2553) กรุงเทพฯ : สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ
การศึกษา.
ภาษาอังกฤษ
Anderson, L.W. and Krathwohl, David R. Dr. (2000) A Taxonomy for Learning
Teaching and Assessing : A Revision of Bloom’s Taxonomy of
Educational Objective.New York : Longman,.
Danielson Charlotte. (2010). Implementing the framework for teaching in
enhancing professional practice. An ASCD Action Tool.
Kagan,S. (1994). Cooperative Learning. CA : San Juan Capistrano.
Kleinfeld, Judith. The Case Method in Teacher Education : Alaskan Models. ERIC
Digest.http://www.ericae2.edu.cua/edo/ed321965.htm.
Osman, K., Abdul Hamid, S.H., and Hassau (2009). “Standard Setting : Inserting
Domain of the 21th Century Thinking Skills into the Existing Science
Curriculum in Malaysia.” Social and Behavioral Sciences 1, 1.
Partnership for 21st Century (2008). 21st Century Skill Rethinking How Student Learn
[Online].Assessed 10 January. Avilable from http://www.21stcentury.org.
Powell, J.L.( 1994) Case Method in Higher Education : A case study. Kansas State
University
Rusbult, C. Thinking Skills in Education. [Online].Assessed 12 December 2007.
Avilable from http://www. Asa3.org/ASA/education/think/skills.htm.
Santos, K.E.(1994) Student Teachers’ and Cooperating Teachers’ Use of Cases to
Promote Reflection and Classroom Action Research (Field Experience).
University of Virginia.
Slavin (1995). Cooperative Learning:Theory, research and practice. ( 2nd ed).
Massachusetts :Simon& Schuster.
Maria Lialopoulou. (2011). The Professional Competence of Teacher : Which
qualities, Attitudes, skills and knowledge contribute to teacher’s
effectiveness? International Journal of Humanities and Social Science.
Vol.1 No.21 (Special Issue-December 2011).
New Teacher Center. (2004). Continuum of Teacher Development adapted from
the New Teacher Center at the University of California Professional
Santa Crus. U.S.A.