ISSN: 1906-117X

วารสาร

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานในยุค New Normal เพื่อส่งเสริมสมรรถนะ การออกแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกของนักศึกษาครู

The Development of Instructional Model Based on Blended Learning of New Normal to Enhance the Competency of Learning Management Design Based on Active Learning for Student Teacher
ขอบเขต: หลักสูตรการสอน

แฝงกมล เพชรเกลี้ยง

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ทรรศนัย โกวิทยากร

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานในยุค New Normal เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงรุกของนักศึกษาครู 2. เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานในยุค New Normal เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงรุกของนักศึกษาครู โดยมีวัตถุประสงค์ย่อย ดังนี้ 2.1 เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงรุกของนักศึกษาครู ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานในยุค New Normal 2.2 เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานในยุค New Normal เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงรุก และ 3. เพื่อรับรองรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานในยุค New Normal เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงรุก นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในปีการศึกษา 2563 ภาคเรียนที่ 1 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา (1100301) การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลาก จำนวน 30 คน โดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานในยุค New Normal เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกของนักศึกษาครู คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานในยุค New Normal เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกของนักศึกษาครู แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานในยุค New Normal แบบประเมินสมรรถนะการออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกของนักศึกษาครู และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานในยุค New Normal เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงรุกวิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test แบบ Dependent ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบ “SKIPP Model” มีองค์ประกอบ ดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 S - Stimulus learning (ขั้นเข้าสู่บทเรียน) ขั้นตอนที่ 2 K - Knowledge Construction (ขั้นแลกเปลี่ยนสร้างองค์ความรู้) ขั้นตอนที่ 3 I - Incheck understand (ขั้นตรวจดูความเข้าใจ) ขั้นตอนที่ 4 P – Product design (ขั้นสร้างชิ้นงานขึ้นใหม่) ขั้นตอนที่ 5 P - Process of reflect (ขั้นแถลงไขความคิด) ซี่งรูปแบบนี้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 2. ประสิทธิผลของรูปแบบพบว่านักศึกษาครูมี 1) สมรรถนะการออกแบบการจัดการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 2) นักศึกษาครูมีความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานในยุค New Normal เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงรุกอยู่ในระดับดีมาก

Abstract

The research aims to: 1. Develop and find the effeciency base on active learning of teaching model in conjunction with social media to promote learning management competencies of students and teachers in the New Normal era. 2. Evaluate the effectiveness of the conceptual teaching model, being proactive in conjunction with social media. And endorsed the teaching model based on active learning in conjunction with social media. The sample group was the fourth year students in elementary education. Bachelor of Education, Faculty of Education, Bansomdejchaopraya Rajabhat University in Academic Year 2020, totaling 14 students. The research instruments included base on active learning of teaching model in conjunction with social media. Pattern Manual Competency in learning management. And learning management plan Learning management competency test form for teacher students Model satisfaction assessment. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, t-test dependent. The results of the research were as follows: 1. The “SKIPP Model” has the following elements: principles, objectives, learning management process. (1. Preparation stage 2. Participation stage 3. Knowledge creation stage 4. Improvement and development stage) and conditions for applying the pattern, this format is effective 80/80. 2. Effectiveness of the model found that students and teachers had. 1) Different learning management competencies before and after learning management based on active learning of teaching model in conjunction with social media. 2) Students and teachers are satisfied with teaching model base on active learning in conjunction with social media.

คำสำคัญ

การเรียนรู้แบบผสมผสาน, การออกแบบการจัดการเรียนรู้, แนวคิดเชิงรุก

Keywords

Blended Learning, Learning Design, Active Learning

เอกสารอ้างอิง

ดิเรก อัคฮาด. (2563). การใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงสำหรับการจัดการเรียนการสอนในยุค Thailand 4.0.
วารสารครุศาสตร์สาร, 14(1), 239-252.
ทับทิมทอง กอบัวแก้ว. (2563). รูปแบบการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ด้วยกระบวนการจัดการความรู้ของ
นักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารครุศาสตร์สาร, 14 (1), 80-99.
นนทลี พรธาดาวิทย์. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ:
ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
ฟาฏินา วงศ์เลขา. (2553, 2 มีนาคม). กลไกการขับเคลื่อนการศึกษาก้าวสู่ประชาคมอาเซียน. เดลินิวส์.
หน้า 15
ภูษิมา ภิญโญสินวัฒน์. (2563). พลิกวิกฤตเป็นโอกาส “โค้ชหน้างาน” ครูพัฒนาการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ
: TDRI
ยนต์ ชุ่มจิต. (2546). การศึกษาและความเป็นครูไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ:
พริกหวานกราฟฟิก.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). รายงานการสังเคราะห์ตัวชี้วัดด้านการศึกษาไทย ตาม
กรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.