ISSN: 1906-117X

วารสาร

การวิเคราะห์ผู้เรียน: ลีลาการเรียนรู้

Learner Analysis: Learning Styles
ขอบเขต: เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

รศ.ดร.ศักดิ์คเรศ ประกอบผล

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์ลีลาการเรียนรู้ของผู้เรียน ทำให้ทราบว่าผู้เรียนแต่ละคนมีรูปแบบ วิธีการ หรือพฤติกรรม ที่ถนัดและชอบปฏิบัติเป็นประจำในการเรียนรู้อย่างไร ประเภทของลีลาการเรียนรู้ที่สำคัญแบ่งออกเป็น 2 แนวคิด ดังนี้ 1. ลีลาการเรียนรู้ตามแนวคิดของแอนโธนี กราซา และไรซ์แมน เป็นการแบ่งลีลาการเรียนรู้ของผู้เรียน ตามลักษณะบุคลิกภาพของผู้เรียนมี 6 กลุ่ม คือ 1) ลีลาการเรียนรู้แบบอิสระ 2) แบบหลีกเลี่ยง 3) แบบร่วมมือ 4) แบบพึ่งพา 5) แบบแข่งขัน 6) แบบมีส่วนร่วม 2. ลีลาการเรียนรู้ตามแนวคิดของเฟลมมิ่งและมิลส์ เป็นการแบ่งลีลาการเรียนรู้ของผู้เรียน ตามความชอบหรือความถนัดในการรับข้อมูลมี 4 กลุ่ม คือ 1) ลีลาการเรียนรู้ผ่านภาพและสัญลักษณ์ 2) ผ่านเสียง 3) ผ่านการอ่านและเขียน 4) ผ่านการสัมผัสและการกระทำ การทราบลีลาการเรียนรู้ของผู้เรียน ทำให้ผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับลีลาการเรียนรู้ของผู้เรียน ส่งผลให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น

Abstract

Analyzing the learning styles of learners helps to know that each learner has different learning styles, ways of learning or learning behavior, that each individual is familiar with and regularly practise in the learning process. There are 2 main concepts of learning styles. 1. Anthony Grasha and Sheryl Riechmann's Learning Concept separates the learning styles according to learner's personality. This can be categorised into 6 groups as follows; 1) Independent 2) Avoidance 3) Collaborative 4) Dependent 5) Competitive 6) Participant. 2. Fleming and Millis's Learning Concept separates the learning styles according to the learner's preference or aptitude in receiving information. This can be categorised into 4 groups as follows; 1) Visual Learning through pictures and symbols 2) Aural/Auditory Learning 3) Read & Write Learning 4. Kinesthetic Learning. Knowing learner's learning styles helps instructors create proper learning activities, and as a result will increase learning effectiveness and efficiency.

คำสำคัญ

การวิเคราะห์ผู้เรียน ลีลาการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสม

Keywords

Learner Analysis, Learning Styles, Proper Learning Activities

เอกสารอ้างอิง

ทิศนา แขมณี. (2551). ลีลาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประสาร ศรีพงษ์เพลิด. (2560). สไตล์การเรียนรู้กับสไตล์การสอน. วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ. 6(1) : 64-86.
มัณฑรา ธรรมบุศย์. (ม.ป.ป.). แนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบ / ลีลา การเรียนรู้ (LearningStyle). สืบค้นจาก
https://sites.google.com/a/phusang.ac.th/krukanokwanscience_pwk/how-to-learn/rup-baeb-kar-reiyn-ru
ราชบัณฑิตยสถาน. (2553). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ประยุกต์). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
สุรีพร ปวุติภทรพงศ์. (2014). VARK ฉันจะเรียนได้ดีที่สุดอย่างไร. สืบค้นจาก
https://vark-learn.com/wp-content/uploads/2014/08/The-VARK-Questionnaire-Thai.pdf
Felder, R.M. (1993). Reaching the second tier: learning and teaching Styes in college sciene education. Journal of College Science Teaching, 23(5), 285-290.
Grasha, Anthony F.; & Reichmann, Sheryl. (1975). Workshop Handout on Learning Style. Ohio: University of Cincinnat.
Kendra Cherry. (2019). Overview of VARK Learning Styles. Which Learning Style Do You Have? Retrieved from https://www.verywellmind.com/vark-learning-styles-2795156
Leaver, Betty Lou; Ehrman, Madeline; & Shekhtman, Boris. (2005). Achieving Success in Secon Language Acquisition. Cambridge: Cambridge University Press.
Office of Knowledge Management and Development (ม.ป.ป.). V A R K การเรียนรู้แบบไหน … สไตล์คุณ. สืบค้นจาก http://www.okmd.or.th/bbl/articles/217/VARK-how-learning- you-style