ISSN: 1906-117X

วารสาร

ความคิดเห็นของครูที่มีต่อความต้องการในการพัฒนาโรงเรียนของผู้บริหาร ในกลุ่มวิทยาเขตจตุรวิทย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต2

Teachers’ opinions towards the school development needs of administratios in Chaturawit Campus Group Under the Office of Secondary Educational Service Area, Office 2
ขอบเขต: การบริหารการศึกษา

ศิริพัฒน์ กุลสิริวลี

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ

บทคัดย่อ

การค้นคว้าอิสระในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ ความคิดเห็นของครูที่มีต่อความต้องการในการพัฒนาโรงเรียนของผู้บริหาร ในกลุ่มวิทยาเขตจตุรวิทย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ทำงาน กลุ่มตัวอย่างคือ ครูจำนวน 168 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามรายการประมาณค่า จำนวน 40 ข้อ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.97 สถิติที่ใช้คือ เปอร์เซ็นต์ค่าเฉลี่ย ( (X ) ̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทำสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของครูที่มีต่อความต้องการในการพัฒนาโรงเรียนของผู้บริหารโรงเรียน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับ ปานกลาง ยกเว้นด้านนักเรียนที่ครูมีความต้องการอยู่ในระดับมาก ผู้ที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความต้องการโดยภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้ครูที่มีวุฒิการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี มีความต้องการมากกว่าครูที่มีวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาตรี ครูที่มีประสบการณ์การสอนแตกต่างกัน มีความต้องการภาวะผู้นำของผู้บริหารในการพัฒนาโรงเรียน โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

Abstract

Independent Study aimed to study and to compare teachers’ opinions towards the school development needs of administrators in the Chaturawit United campus under the office of Secondary Educational Service Area. The total of sample were 168 classified by educational background and years of working experience. A constructed 5-sevel rating scale questionnaire with the reliability of 0.97 was used as a tool for data collection. The statistics were percentage, mean (x), standard deviation (SD.) and t-test use employed for data analysis, The serulls showed as the followings; 1) teacher’ needs towards administrative leadership on school development in the overall and in each aspects was at the moderate level, in revealed of student aspect was at a high level. 2) teachers who have different educational background have the needs in the overall and each aspects was at 0.05 statistically different, in revealed that those who have more bachelor degree need more than the other 3) teachers who are different year of working experiences have no needs different in allover and each aspects.

คำสำคัญ

การพัฒนาโรงเรียน

Keywords

Developing Schools

เอกสารอ้างอิง

กนิน แลวงค์นิล. (2560). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูใหม่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ตามแนวคิดการพัฒนาครูโดยโรงเรียนเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คัมภีร์ อิสรั่น. (2558). ความคิดเห็นของผู้บริหารและอาจารย์ที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสาธิตมัธยมศึกษาในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จุฑามาศ สิริวัฒนโสภณ. (2559). ผลการเตรียมความพร้อมครูที่มีต่อชีวิตการทำงานครูในยุคดิจิทัศและผลที่ตามมา. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต), คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทัศพร ปูมสีดา. (2559). การนำเสนอกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธงชัย สมบูรณ์. (2562). วาทกรมการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
พวงสุรีย์ วรคำมิน. (2558). การบริหารงบประมาณของโรงเรียนเอกชนศาสนาอิสลามใน 3 จังหวัดชายแดนใต้. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลัดดาวัลย์ ใจไว. (2558). ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารจัดการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนศรีราชา 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา
วรรณนภัส พิทักษ์ชานิธิกุล. (2560). ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วรางคณา เค้าอ้น. (2560). การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
วัชรศักดิ์ สงค์ปาน. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อบรรลุผลการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคใต้ฝั่งอันดามัน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
วีระนุช จารวัฒน์. (2561). การบริหารโรงเรียนนานาชาติ ตามการรับรู้ของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. วิทยานิพันธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สายนภา ดาวแสง. (2559). ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดสำนักงานการศึกษา เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.
อุดม ชูลีวรรณ. (2559). รูปแบบการพัฒนาระบบการบริหารคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่ความเป็นเลิศระดับสากล. วิทยานิพนธ์ศึกษาสาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Cohen, Louis, (1928). Research Methods in education. Lawrence Manion, and Keith Morrison. 7th ed.