ISSN: 1906-117X

วารสาร

ผลการจัดกิจกรรมนิทานหุ่นเงาที่ส่งผลต่อส่งเสริมการคิดเชิงบริหารสมองสำหรับเด็กปฐมวัย

RESEARCH THE ACTIVITIES ARRANGEMENT SHADOW PUPPETS TALES THAT AFFECT EXECUTIVE FUNCTION FOR EARLY CHILDHOOD.
ขอบเขต: สังคมศาสตร์เพื่อการศึกษา

คันธรส ภาผล

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการคิดเชิงบริหารสมองของเด็กปฐมวัยก่อนและหลัง การจัดกิจกรรมการเล่านิทานหุ่นเงาของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ อายุระหว่าง 5 - 6 ปี ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียน 2 ปีการศึกษา 2561 ของโรงเรียนวัดศรีสโมสร จังหวัดปทุมธานี จำนวนทั้งสิ้น 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมนิทานหุ่นเงา และ แบบสังเกตทักษะการคิดเชิงบริหารสมองสำหรับเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า การคิดเชิงบริหารสมองของเด็กปฐมวัยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดในด้านการใส่ใจจดจ่อ รองลงมา คือ ด้านการควบคุมอารมณ์ ตามลำดับ ซึ่งหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ ระดับ 0.5

Abstract

The objective of this research was to analyze of a study of brain-thinking management of early childhood children before and after organizing activities for the shadow puppet storytelling of preschool children. The sample used in this study were Age between 5 - 6 years, kindergarten level, 2st year, semester 2, academic year 2018 Of Watsrisamosorn School Pathum Thani Province. A total of 25 people. The tools used in this research were plans for activities, shadow puppet tales and observation forms for brain administration for early childhood. Data analysis by frequency distribution, percentage, mean and standard deviation. The research found that executive functions of early childhood with the highest mean in the focus of attention Followed by emotional control respectively. Which after the experiment was significantly higher than before the static test at the level of 0.5.

คำสำคัญ

นิทานหุ่นเงา การคิดเชิงบริหารสมอง เด็กปฐมวัย

Keywords

SHADOW PUPPETS TALES, EARLY CHILDHOOD AND EXECUTIVE FUNCTION

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา
ลาดพร้าว.
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (2550). สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่ม 32/ โครงการสารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ:
ด่านสุทธาการพิมพ์
จิระพร ชะโน. (2562). การคิดเชิงบริหารกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม.
ดุษฎี อุปการ และอรปรียา ญาณะชัย. (2561). การเสริมสร้างพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยควรเลือกใช้
หลักการใด: “การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน” หรือ “การคิดเชิงบริหาร. นนทบุรี: ศิลปากร
มหาวิทยาลัย.
นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2559). Executive Functions (การคิดเชิงบริหาร). เอกสารการประชุมเชิง
ปฏิบัติการระดมสมองวางกรอบประเด็นและเนื้อหาหนังสือนิทาน โครงการฯ “หนังสือนิทานสร้าง
ภูมิคุ้มกันยาเสพติดสำหรับเด็กปฐมวัย”. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ประเสริฐ ผลผลิตการพิมพ์. (2561). เลี้ยงลูกด้วยนิทาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: แพรวเพื่อนเด็ก.
___________. (2561). เลี้ยงลูกอย่างไรให้ได้ EF. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: แพรวเพื่อนเด็ก.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2548). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์. (2559). การประชุมวิชาการ EF Symposium 2016 ปลูกฝังทักษะสมอง
บ่มเพาะเด็กไทยยุค 4.0. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก www.thaihealth.or.th.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และสถาบัน RLG. (2561). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EXECUTIVE FUNCTIONS สำหรับครูปฐมวัย. กรุงเทพฯ: รักลูกกรุ๊ป จำกัด.
___________. (2562). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EXECUTIVE FUNCTIONS สำหรับครูปฐมวัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: รักลูกกรุ๊ป จำกัด.
___________. (2561). คู่มือพ่อแม่พัฒนาสมอง EF Executive Functions. กรุงเทพฯ: รักลูกกรุ๊ป จำกัด.
อุดม เพชรสังหาร. (2559). การประชุมวิชาการ EF Symposium 2016 ปลูกฝังทักษะสมอง
บ่มเพาะเด็กไทยยุค 4.0. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก www.thaihealth.or.th.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.