ISSN: 1906-117X

วารสาร

ภูมิปัญญาศาสตร์พระราชา : หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

The Wisdom of King’s Philosophy: Philosophy of Sufficiency Economy
ขอบเขต: สังคมศาสตร์เพื่อการศึกษา

หทัยรัตน์ ทับพร

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของภูมิปัญญาศาสตร์พระราชา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2) เพื่อวิเคราะห์การถ่ายทอดภูมิปัญญาศาสตร์พระราชา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนิสิตนักศึกษาครู (3) เพื่อนำเสนอแนวทางในการถ่ายทอดภูมิปัญญาศาสตร์พระราชา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนิสิตนักศึกษาครู วิธีการดำเนินการวิจัย ใช้วิธีวิจับแบบผสมผสาน (Mixed Methods) เชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผลการวิจัยพบว่า 1.คุณค่าของภูมิปัญญาศาสตร์พระราชา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 1)การพึ่งพาตนเอง 2)เป็นทางสายกลาง 3)ใช้ในการแก้ปัญหา 4)ใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิต คือ ความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี 2.การถ่ายทอดภูมิปัญญาศาสตร์พระราชา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนิสิตนักศึกษาครู ได้แก่ 1)การมีส่วนร่วมของนิสิตในการเรียนรู้ 2)การมีส่วนร่วมของนิสิตในการถ่ายทอด 3)การมีส่วนร่วมของนิสิตในการพัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้ 4)การบูรณาการในการสอน 5)การเป็นต้นแบบในการปฏิบัติตนแก่ผู้เรียน 6)การถ่ายทอดผ่านกิจกรรมการเรียนการสอน 3.แนวทางในการถ่ายทอดภูมิปัญญาศาสตร์พระราชา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนิสิตนักศึกษาครู ได้แก่ 1)เสริมสร้างทัศนคติและการตระหนักถึงคุณค่า 2)พัฒนาความรู้ ทักษะและการปฏิบัติ 3)ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน

Abstract

This research comprises of the following objectives: (1) To evaluate the value of The Wisdom of King’s Philosophy: Philosophy of Sufficiency Economy, (2) To analyse the transferring of The Wisdom of King’s Philosophy: Philosophy of Sufficiency Economy for educational students,and (3) To propose the guidelines to transfer The Wisdom of King’s Philosophy: Philosophy of Sufficiency Economy for educational students.The research study was conducted with the use of Mixed Methods, Quantitative Reserach and Qualitative Research. Research Outcome 1.The value of The Wisdom of King’s Philosophy: Philosophy of Sufficiency Economy include: 1) Self-reliability; 2) Moderation; 3) Problem solving; 4) Application of ‘moderation’, ‘reasonableness’ and ‘self immunity’ principles in life. 2.Transferring of The Wisdom of King’s Philosophy: Philosophy of Sufficiency Economy include: 1) Participation of student teachers during the course of learning, 2) Participation of educational students during the course of teaching, 3) Participation of student teachers in knowledge devleopment and enhancement, 5) Teaching by role modeling, and 6) Teaching through educational activities. 3.Propose the guidelines to transfer The Wisdom of King’s Philosophy: Philosophy of Sufficiency Economy for educational students include: 1) Enriching of mindset and realisation of value; 2) Enhancement of knowledge, ability and practicality; and 3) Involvements of all stakeholders.

คำสำคัญ

การถ่ายทอด ภูมิปัญญา ศาสตร์พระราชา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นิสิตนักศึกษาครู

Keywords

TRANSFERRING, CONCEPTS OF THAI WISDOM, CONCEPTS OF PHILOSOPHY OF SUFFICIENCY ECONOMY, EDUCATIONAL STUDENTS

เอกสารอ้างอิง

กาญจนา แก้วเทพ.(2549).ปฐมบทแห่งองค์ความรู้เรื่องสื่อพื้นบ้านสื่อสารสุข.นนทบุรี : โครงการสื่อพื้นบ้านสื่อสารสุข(สพส.)
ชนิตา รักษ์พลเมือง.(2557).กระบวนทัศน์พัฒนศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ ๑) กรุงเทพฯ:วิญญูชน.
ทิศนา แขมมณี.(2561).ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เทิดชาย ช่วยบำรุง.(2554).ภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์.กรุงเทพฯ:สถาบันพระปกเกล้า.
ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์. (2542). ศูนย์การเรียนรู้ธุรกิจชุมชน: จุดเชื่อมภูมิปัญญาท้องถิ่นกับความรู้สากล.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์.
ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา.(2521). ประมวลพระราชดำรัส. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
อมรวิชช์ นาครทรรพ.(2545).หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับบริบททางการศึกษา.ใน ประมวลสาระชุดวิชาบริบททางการศึกษา.นนทบุรี:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.