ISSN: 1906-117X

วารสาร

การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการบริหารจัดการ การผลิตขนมกงสู่ชุมชน

Technology transfer, production and management Kanom Gong production to the community
ขอบเขต: สังคมศาสตร์เพื่อการศึกษา

ธนิดา ภู่แดง

มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

วนิดา เพิ่มศิริ

มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีในด้านการผลิตขนมกง การบริหารจัดการ และออกแบบผลิตภัณฑ์ให้กับชุมชนและผู้สนใจ ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยโดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างจากผู้สนใจที่เป็นกลุ่มจำนวน 2 กลุ่ม และนักศึกษา ผู้สนใจทั่วไปในการถ่ายทอดเทคโนโลยีในด้านการผลิตขนมกง การบริหารจัดการรวมทั้งศึกษาความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมรับการถ่ายทอด ซึ่งได้ถ่ายทอดเป็นจำนวน 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มแม่บ้านแปรรูปเขารวกน้อย อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี จำนวน 10 คน 2) กลุ่มแม่บ้านวัดม่วงชุม อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 20 คน และ 3) นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไป จำนวน 50 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตขนมกงด้านความรู้ความเข้าใจ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยก่อนเข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตขนมกง อยู่ในระดับปานกลางและหลังเข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับกระบวนถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตขนมกง อยู่ในระดับมาก 2) การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตขนมกงด้านความพึงพอใจ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายการ เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า อันดับแรกได้แก่ ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ของวิทยากร รองลงมาคือ ความสามารถในการถ่ายทอดการผลิต เวลาในการถ่ายทอดมีความเหมาะสม ตามลำดับ 3) การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตขนมกงการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า อันดับแรกได้แก่ นำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพ รองลงมาคือ นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

Abstract

This research aims to transfer technology in the production of Kanom Gong. Management And design products for communities and interested people The researcher conducted the research by determining the sample group from 2 groups of interested parties and students who are general interested in transferring technology in the production of Kanom Gong. Management and study the opinions of participants Which were broadcasted in 3 groups: 1) Processing group of Khao Ruak Noi, Lam Sonthi District, Lopburi Province, 10 people Bang Rachan District 20 people in Sing Buri Province and 3) 50 students and general interested people. The research found that 1. The transfer of technology for the production of Kanom Gong The overall picture is at a high level. With prior knowledge and understanding about Technology transfer of confectionery production At moderate level and after receiving training with knowledge about the technology transfer process for Kanom Gong production at a high level 2. Technology transfer of Kanom Gong production for satisfaction The overall picture is at a high level. And when considered as a list Sorted in descending order First is The ability to transfer knowledge of the lecturer, followed by the ability to convey production. The timing of the relay is appropriate, respectively. 3. The transfer of technology to produce candy The overall picture is at a high level. Sorted in descending order First is Applying knowledge to the occupation, followed by applying knowledge in daily life.

คำสำคัญ

การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต การบริหารจัดการ และ ขนมกงสู่ชุมชน

Keywords

Technology Transfer, Production Management and Kanom Gong to Community

เอกสารอ้างอิง

ธนิดา ภู่แดง. (2557). การบัญชีต้นทุน 1. (ฉบับปรับปรุง). ลพบุรี : ศูนย์เอกสารการพิมพ์
ธนิดา ภู่แดง และ วนิดา เพิ่มศิริ. (2557). การยกระดับการผลิตและการบริหารจัดการธุรกิจแปรรูปกระยาสารทกลุ่มแม่บ้านแปรรูปอาหาร บ้านเขารวกน้อย อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
. (2558). การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการบริหารจัดการธุรกิจแปรรูปกระยาสารทสู่ชุมชนในจังหวัดลพบุรี. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
นิตยา มหาไชยวงศ์ และคณะ. (2556). โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงไหมอีรี่ครบวงจร. รายงานวิจัย.คลินิกเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปีงบประมาณ 2556
พนามาศ ตรีวรรณกุล, กิตติพงศ์ ตรีตรุยานนท์. (2550). การถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีการผลิตองุ่น และการประกอบการเกษตรธุรกิจองุ่น. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.